กฎหมายและรูปแบบเขตปกครองตนเองของสาธารณรัฐประชาชนจีน
Abstract
ตั้งแต่ปี 2490 เป็นต้นมาจีนได้ก่อตั้งระบบการปกครองตนเองของชนกลุ่มน้อย วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งองค์กรปกครองดังกล่าวก็เพื่อแก้ไขปัญหาความหลากหลายทางชาติพันธุ์ภายใต้นโยบายพื้นฐานของพรรคคอมมิวนิสต์จีน องค์กรปกครองตนเองได้มีการจัดตั้งขึ้นในพื้นที่ ที่มีชนกลุ่มน้อยอาศัยอยู่หนาแน่น องค์กรปกครองตนเองแห่งแรก คือ มองโกเลียใน จัดตั้งขึ้นในปีดังกล่าวโดยความเห็นชอบของสภาการเมืองของประชาชนจีน ภายหลังจากนั้นสภาประชาชนจีนได้มีความเห็นชอบให้จัดตั้งองค์กรปกครองตนเองอีก 4 แห่ง คือ ซินเจียง อุยเก๋อร์, กวางซี จวง, หนิงเซีย ฮุ่ย และธิเบตตามลาดับ เพื่อยืนยันหลักการดังกล่าวข้างต้น รัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนฉบับปัจจุบัน หมวดที่ 1 บัญญัติว่าในพื้นที่ที่มีชนกลุ่มน้อยอยู่หนาแน่น องค์กรปกครองตนเองต้องได้รับการจัดตั้งขึ้นเพื่อให้ชนกลุ่มน้อยใช้สิทธิปกครองตนเอง เพื่อให้หลักการในรัฐธรรมนูญบรรลุวัตถุประสงค์ ในปี 2527 สภาประชาชนจีนจึงได้ผ่านร่างกฎหมายเขตปกครองตนเอง เพื่อกาหนดโครงสร้างและรายละเอียดขององค์กรเขตปกครองตนเอง กฎหมายฉบับนี้ได้แบ่งองค์กรปกครองตนเองออกเป็น 3 ระดับ คือ ระดับจังหวัด ระดับอาเภอ และระดับตาบล อย่างไรก็ตามในปี 2536 ได้มีการออกระเบียบการปกครองให้มีการจัดตั้งองค์กรปกครองตนเองระดับหมู่บ้านDownloads
Issue
Section
บทความ
License
- บทความทุกเรื่องได้รับการตรวจทางวิชาการโดยผู้ทรงคุณวุฒิ (Reader) จากภายในและนอกมหาวิทยาลัย
- ความคิดเห็นใดๆ ที่ลงตีพิมพ์ในวารสารกฎหมายคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เป็นของผู้เขียน (ความคิดเห็นใดๆ ของผู้เขียน กองบรรณาธิการวารสารกฎหมายคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย)
- กองบรรณาธิการวารสารกฎหมายคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ไม่สงวนสิทธิในการคัดลอก แต่ให้อ้างอิงแสดงแหล่งที่มาด้วย