มุมมองนักศึกษากฎหมาย(Generation Z) ต่อคำวินิจฉัยของ ศาลรัฐธรรมนูญกรณีการสมรสของคนเพศเดียวกัน

Law Student’s Perspective on the Decision of Thai Constitutional Court on the Same-sex Marriage

Authors

  • Chuchada Thongklab Assumption University
  • Pitchayapa RungRueng
  • Punisa Suntranu

Keywords:

ความหลากหลายทางเพศ การสมรสเพศเดียวกัน LGBTQ , same-sex marriage

Abstract

บทคัดย่อ เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2564 ได้มีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ 20/2564 เกี่ยวกับการสมรสของบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ+) ในประเด็นที่ว่าประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1448 ไม่ขัดหรือแย้งกับมาตรา 4 มาตรา 5 มาตรา 25 มาตรา 26 และมาตรา 27 แห่งรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช 2560 โดย ศาลรัฐธรรมนูญได้ให้เหตุผลว่าการสมรสนั้นต้องเป็นชายและหญิงตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1448 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และเห็นว่าวัตถุประสงค์ของการสมรสเพื่อสืบเผ่าพันธุ์เท่านั้น อีกทั้งยังเห็นว่าเพศหญิงเพศชายมีการแบ่งแยกมาโดยธรรมชาติ (an act of god) ซึ่งผู้ที่ถือกำเนิดมานั้นเลือกไม่ได้ และหากให้บุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศสมรสกันอาจเกิดกรณีการหวังผลประโยชน์จากสวัสดิการรัฐจากบุคคลภายนอก แต่อย่างไรก็ตาม ในมุมมองของผู้เขียนมีความเห็นว่าการสร้างครอบครัวถือเป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน รากฐานของการสร้างครอบครัวนั้นเกิดจากการที่บุคคลยินยอม ตกลงที่จะใช้ชีวิตร่วมกันนำมาซึ่งการสมรส เมื่อมนุษย์มีการอยู่กันร่วมเป็นกลุ่มใหญ่มากขึ้น รัฐจึงต้องเป็นผู้กำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการสมรสจากวิถีชีวิตของคนในสังคม ซึ่งการรับรองสิทธิสถานะของมนุษย์ของรัฐควรปรับเปลี่ยนได้ตามกาลเวลาที่เหมาะสมต่อสภาพสังคมในยุคนั้นๆ การสมรสไม่ควรมีการจำกัดให้สิทธิ กล่าวคือ การสมรสในปัจจุบันอาจไม่ได้มีไว้เพื่อดำรงเผ่าพันธุ์เท่านั้น อีกทั้ง เมื่อเพศมีความหลากหลายกฎหมายก็ยิ่งไม่ควรจำกัดไว้แค่ชายและหญิง ด้วยเหตุนี้ รัฐต้องรับรองสิทธิให้กับบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศในฐานะที่เป็นมนุษย์และประชาชนของรัฐ ผลการศึกษาพบว่าปัจจุบันสังคมไทยมีการเปิดกว้างมากขึ้นเกี่ยวกับความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ+) ดังนั้น บุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศไม่ควรถูกเลือกปฏิบัติไม่ว่าด้วยเหตุอะไรก็ตาม

 

Abstract
This study aims to study the decision of the Thai Constitutional Court on the same-sex marriage to analyze the interpreting from the case due to the face that the constitutional court has interpreted the meaning of marriage and analyzing the interpretation of court decision that a partner (same-sex couple) files a petition to constitutional court to decide whether section 1448 of Thai Civil and Commercial Code conflict to section 4, 5, 25, 26 and 27 of Thai Constitution B.E.2560 or not. The court adjudicated that the objective of marriage is only to reproduce the clan. The idea of the court is specifying that humans have only two sexs (an act of god) which people can not determine what sex they want to born with. Moreover, if sex is not specified in the marriage, there may be some group of gender diversity people may apply the marriage earn an advantage from the state-welfare.
Nevertheless, in the writers’ perspective, creating a family is the human right where two people consent to be life partner, which leads them to be spouse. As, the duty of the state to
regulate and protect the people of the state so that they can live with pride. Meaning that people should not be discriminated for any reasons.

Author Biography

Chuchada Thongklab, Assumption University

Head of International Affairs and Academic Networks

Graduate Studies, AU School of Law

Downloads

Published

2022-03-09