หน้าที่ของรัฐในการคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐาน

State’s duty to protect the fundamental rights

Authors

  • Padiwaradda Boonnamma

Abstract

บทคัดย่อ
ทฤษฎีหน้าที่ของรัฐในการคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานเกิดจากการตีความของศาลรัฐธรรมนูญเยอรมันที่เห็นว่าสิทธิขั้นพื้นฐานมีมุมมองในทางภาววิสัยที่เชื่อมโยงอยู่กับระบบคุณค่าที่ต้องทำให้สิทธิขั้นพื้นฐานมีผลบังคับให้ได้มากที่สุดทั้งในทางกฎหมายและความเป็นจริง การกำหนดให้รัฐทำหน้าที่คุ้มครองในกรณีดังกล่าวจึงไม่ใช่เรื่องที่กำหนดเอาไว้เป็นรายมาตราในรัฐธรรมนูญ หากแต่เป็นหน้าที่ซึ่งมาจากบทบัญญัติของสิทธิขั้นพื้นฐานที่เป็นมุมมองในทางภาววิสัย โดยหน้าที่ของรัฐในการคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานเป็นการเรียกร้องให้รัฐโดยเฉพาะฝ่ายนิติบัญญัติทำหน้าที่ในการตรากฎหมายเพื่อคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานจากภยันตรายต่าง ๆ ที่ไม่ได้เกิดขึ้นจากรัฐ เช่น ภัยธรรมชาติ ภัยก่อการร้าย ภัยที่เกิดขึ้นจากเอกชนด้วยกัน เป็นต้น ทั้งนี้ ความยุ่งยากจะเกิดมีขึ้นเมื่อในความเป็นจริงนั้นมักจะมีกรณีที่เอกชนฝ่ายหนึ่งใช้สิทธิของตนเองแต่ไปกระทบต่อสิทธิขั้นพื้นฐานของผู้อื่น โดยที่เอกชนแต่ละฝ่ายต่างได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญด้วยกันทั้งหมด สถานการณ์ดังกล่าวนี้ในทางวิชาการเรียกว่า การปะทะกันของสิทธิขั้นพื้นฐาน เมื่อเกิดกรณีเช่นนี้ฝ่ายนิติบัญญัติมีหน้าที่ในการตรากฎหมายเพื่อคุ้มครองสิทธิของเอกชนทุกฝ่าย โดยวิธีการชั่งน้ำหนักสิทธิขั้นพื้นฐานว่าในกรณีเฉพาะเรื่องเฉพาะราวนั้นจะให้การคุ้มครองฝ่ายใดมากกว่ากัน และต้องไม่ทำให้สิทธิขั้นพื้นฐานที่มีน้ำหนักน้อยกว่าสิ้นผลบังคับลง ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศไทยแล้วจะเห็นว่ารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ได้บัญญัติหมวดหน้าที่ของรัฐไว้เป็นการเฉพาะโดยกำหนดให้รัฐทำภารกิจต่าง ๆ เช่นกัน แต่เมื่อได้พิจารณาบทบัญญัติเป็นรายมาตราแล้วกลับไม่มีส่วนใดเลยที่เป็นการคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานของบุคคล อีกทั้ง หน้าที่ต่าง ๆ ที่กำหนดนั้นมีลักษณะเป็นภารกิจพื้นฐานของรัฐและเป็นการเรียกร้องเอากับทรัพยากรของรัฐ ด้วยเหตุนี้ หน้าที่ของรัฐตามรัฐธรรมนูญไทยจึงมีความแตกต่างจากทฤษฎีหน้าที่ของรัฐในการคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐาน

 

Abstract
The theory of state duty to protect fundamental rights derives from interpretations by the German Constitutional Court that fundamental rights possess objective viewpoints connected to the order of values, requiring fundamental rights to be enforced as much as possible in law and the everyday world. Assigning the state to act as protection for such cases is not a matter specified in each section of the constitution. Instead, it is a duty arising from objectively viewed fundamental human rights provisions. The duty of the state to protect fundamental rights calls upon the state, especially the legislature, to enact laws protecting fundamental rights from dangers not caused by the state, including natural disasters, terrorism, and problems arising from the private sector. Difficulties often arise when de facto cases occur in which by exercising its own rights, one private sector fundamentally affects the rights of others. The issue is that all private sectors should be collectively protected under the constitution. Researchers have termed this situation a collision of fundamental rights. In such cases, the legislature is responsible for enacting laws to protect rights of all private parties. Seen in terms of a model of weighing interests, fundamental rights are weighed to ascertain which particular case provides increased protection, while not nullifying fundamental rights enforceability for less weighty cases. By comparison, the Constitution of the Kingdom of Thailand B.E. 2560 (2017) stipulated specific categories of state duties and required the state to perform different tasks, but a section-by- section consideration of its provisions reveals an apparent lack of individual fundamental rights protection. In addition, functions set forth comprise fundamental state tasks and demands on state resources. Therefore, state duties under the Thai constitution differ from the theory of state duties to protect fundamental rights.

Downloads

Published

2022-03-09