การคุ้มครองลูกจ้างผู้แจ้งเบาะแสที่เกี่ยวพันกับ ความลับทางการค้าของนายจ้าง<br> The Protection of Employee “The Whistleblower” in Relation to Employer’s Trade Secret

Authors

  • ศิวัญจ์พร ลือชานิมิตจิต

Keywords:

ความลับทางการค้า, ลูกจ้าง, ผู้แจ้งเบาะแส, trade secret, employee, whistleblower

Abstract

บทคัดย่อ 

           บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัญหาการคุ้มครองลูกจ้างผู้แจ้งเบาะแสที่เกี่ยวพันกับความลับทางการค้าของนายจ้าง และหาข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาการให้ความคุ้มครองลูกจ้างผู้แจ้งเบาะแสที่เกี่ยวพันกับความลับทางการค้าของนายจ้าง เนื่องจากความลับทางการค้าเป็นข้อมูลอันมีค่าที่สร้างผลประโยชน์ให้กับนายจ้าง และลูกจ้างมีหน้าที่สำคัญ คือการรักษาความลับทางการค้าของนายจ้างเพื่อให้นายจ้างได้รับประโยชน์จากการมีและใช้ความลับทางการค้านั้นต่อไป

          ผลการศึกษาพบว่า ลูกจ้างไม่ต้องปฏิบัติตามคำสั่งของนายจ้างหรือกระทำตามสัญญาที่ทำไว้กับนายจ้าง หากเป็นการให้ลูกจ้างปกปิดการกระทำที่ผิดกฎหมายของนายจ้าง การที่ลูกจ้างแจ้งเบาะแสที่เกี่ยวพันกับความลับทางการค้าของนายจ้างนั้น ย่อมเป็นการกระทำละเมิดต่อสิทธิในความลับทางการค้าของนายจ้าง แต่ถ้าการแจ้งเบาะแสของลูกจ้างนั้น เป็นการกระทำที่มีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์ของสาธารณะ หรือเป็นกรณีที่ลูกจ้างเปิดเผย หรือใช้ข้อมูลความลับทางการค้าของนายจ้างด้วยความจำเป็นเพื่อประโยชน์ของสาธารณะ หรือเพื่อสุขอนามัย ความปลอดภัยของสังคม หรือกระทำโดยเจตนาสุจริตแล้วนั้น เมื่อลูกจ้างผู้แจ้งเบาะแสกระทำให้เกิดประโยชน์แก่สังคม ดังนั้น การให้ความคุ้มครองกับลูกจ้างผู้แจ้งเบาะแสที่เกี่ยวพันกับความลับทางการค้าของนายจ้างในฐานะเป็นพลเมืองดีหรือเป็นผู้แจ้งเบาะแส จึงเป็นสิ่งที่ควรให้ความสำคัญมากกว่าที่จะปกป้องประโยชน์ของนายจ้างแต่เพียงอย่างเดียว จึงนำมาสู่ข้อเสนอแนะ คือ ให้เพิ่มเติมความหมายของ “การกระทำที่มีลักษณะขัดต่อกฎหมาย” เพื่อเป็นประโยชน์ในการตัดสินใจของลูกจ้างในการแจ้งเบาะแสการกระทำที่เกี่ยวพันกับความลับทางการค้าของนายจ้าง และกำหนดให้การกระทำของลูกจ้างที่แจ้งเบาะแสอันเกี่ยวพันกับความลับทางการค้าของนายจ้าง ซึ่งได้รับการตัดสินแล้วว่า กระทำของนายจ้างมีความผิดตามกฎหมาย เป็นข้อยกเว้นของการกระทำที่ไม่เป็นการละเมิดสิทธิในความลับทางการค้า รวมทั้งกำหนดถึงการให้รางวัลแก่ลูกจ้างในกรณีที่ลูกจ้างที่เป็นผู้แจ้งเบาะแสที่เกี่ยวพันกับความลับของนายจ้าง ทั้งนี้ เพื่อให้กฎหมายความลับทางการค้ามีความเหมาะสมยิ่งขึ้น

 

Abstract

This article aims to analyze the problem of whistleblower protection in relation to the trade secrets of employers, and to find more problem-solving techniques for whistleblower protection in relation to the trade secrets of employers. Trade secrets are very valuable assets that provide many benefits for employers. An employee’s main responsibility is to protect the employer’s trade secrets so the employer can continue to receive these benefits.

The results of this study show that an employee is not required to follow an employer’s order, or any contractual commitments, if the employee would thus be forced to conceal an offence by the employer. An employee who reports wrongdoing related to the employer’s trade secrets may be violating the employer’s right to confidentiality but this is outweighed by the public benefit of reporting the wrongdoing. If an employee needs to reveal the trade secrets of an employer to protect public, hygiene, social security, public safety or faithful performance, the benefit to the public supersedes the need to protect the trade secrets. Therefore, employee-whistleblowers who are reveal the trade secrets of their employers should be protected, instead of protecting only the benefits to the employers

Downloads

Published

2021-04-27