เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) กับปัญหาการคุ้มครองแรงงานเด็กเคลื่อนย้ายถิ่นฐานในอุตสาหกรรมก่อสร้างของประเทศไทย<br> Sustainable development goals (SDGs) and the protection of Migrant child labors in the Thai Construction Industry

Authors

  • ดร. วัชรชัย จิรจินดากุล
  • ปานวาด ทับทัง

Keywords:

แรงงานเด็กเคลื่อนย้ายถิ่นฐาน, แรงงานอุตสาหกรรมก่อสร้าง, เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน, migrant child labors, construction industry workers, sustainable development goals (SDGs)

Abstract

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นการศึกษาปัญหากฎหมายกับนโยบาย เพื่อนำเสนอการปรับปรุงกฎหมายคุ้มครองแรงงานและกฎหมายคุ้มครองเด็กของประเทศไทยที่ใช้อยู่ให้มีความสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน เนื่องจากประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่เข้าร่วมเข้าร่วมประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economics Community : AEC) ส่งผลให้มีแรงงานเคลื่อนย้ายถิ่นฐานเข้ามาทำงานในประเทศไทยเป็นจำนวนมากซึ่งหนึ่งในนั้นมีแรงงานเด็ก ที่มีส่วนหนึ่งทำงานในอุตสาหกรรมก่อสร้าง ทั้งนี้พบว่าการใช้แรงงานเด็กเป็นหนึ่งในเป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) ที่องค์การสหประชาชาติร่วมมือกับองค์การแรงงานระหว่างประเทศกำหนดขึ้น เพื่อยุติการใช้แรงงานเด็ก

การศึกษาเรื่องนี้เป็นการศึกษากฎหมายเพื่อการพัฒนาโดยวิเคราะห์ข้อความคิด กรณีศึกษา และสถานการณ์ทางสังคมในปัจจุบันโดยการวิจัยเอกสาร

จากการศึกษาพบว่า 1)แรงงานเด็กเคลื่อนย้ายถิ่นฐาน ไม่ปรากฏคำนิยามที่ชัดเจน ทำให้เกิดช่องว่างทางกฎหมาย ทำให้ไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย ควรที่บัญญัติคำนิยามของเด็กกลุ่มนี้ไว้ในพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 ให้ชัดเจน

2) แรงงานเด็กเคลื่อนย้ายถิ่นฐานในอุตสาหกรรมก่อสร้าง จำพวกต้อง ยก แบก หาม หาบ สิ่งของที่มีน้ำหนักมากนั้นไม่ระบุเป็นงานอันตรายในกฎหมายคุ้มครองแรงงานของไทย ควรที่บัญญัติงานในลักษณะดังกล่าวเป็นงานอันตรายสำหรับการใช้แรงงานเด็กในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541

3) การใช้แรงงานเด็กเป็นหนึ่งในเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ควรที่กำหนดมาตรการให้มีข้อยกเว้นเกี่ยวกับหลักเกณฑ์อายุของการใช้แรงงานเด็ก สำหรับกรณีของกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาที่มีความจำเป็นที่ต้องใช้แรงงานเด็ก


Abstract

      This article analyzes legal problems and relating to policies to labor protection laws and the Thai child protection law. The authors suggest improvements to these laws to adopt to the current situation in Thailand. Thailand is one of the countries that joined the Asean Economics Community (AEC), which resulted in a large number of migrant workers coming to work in Thailand. Among those workers are child laborers who work in the construction industry. Eliminating child labor is one of the Sustainable Development Goals (SDGs), under which the United Nations cooperating with the International Labor Organization to end child labor.

     This study analyzes the ideas, case studies and documentary research into current social situations and concludes that:

     1) There is no clear definition of migrant child labor, which results, in a legal gap that leaves these are protected by the law.  There should be a clear definition of this group of children in the 2003 Child Protection Act.

     2) Although the use of migrant child labor in the construction industry requires children to carry heavy objects, this is not identified as a dangerous job undo Thai labor protection law. There should be a provision that identifies construction work as a dangerous job for child laborers in the Labor Protection Act BE 2541

     3) Eliminating child labor is one of the Sustainable Development Goals but these measures should be defined. to include an exception to the criteria for the age of child labor in developing countries that need to use child labor.

Downloads

Published

2021-04-27