ปัญหาการปรับใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ.2550 กับผู้หญิงที่กระทำความรุนแรงด้วยความเครียดสะสมจากการถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว<br> The Problem of Domestic Violence Victim Protection Act, B.E. 2550 and The Female Victim with Battered Women Syndrome

Authors

  • ชญาธร ยุติธรรมวงษ์

Keywords:

ความรุนแรงในครอบครัว, อาการความเครียดสะสมจากการถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัว, สิทธิมนุษยชน, วงจรความรุนแรง, domestic violence, Battered Women Syndrome, human rights, the cycle of violence

Abstract

บทคัดย่อ

          บทความนี้เป็นการศึกษาปัญหาการปรับใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 กับกรณีศึกษาผู้หญิงที่กระทำความรุนแรงด้วยความเครียดสะสมจากการถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวหรือที่เรียกว่า Battered Woman Syndrome: BWS โดยผู้เขียนนำเสนอว่าพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 ซึ่งเป็นกฎหมายภายในที่ประเทศไทยได้อนุวัติการเพื่อรองรับพันธกรณีตามอนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุก รูปแบบ (Convention on the Elimination Of All form of Discrimination Against Women: CEDAW) ขององค์การสหประชาชาติ โดยมีวัตถุประสงค์มุ่งคุ้มครองสิทธิมนุษยชนของผู้หญิง กำหนดบรรทัดฐานและมาตรฐานในเรื่องการเลือกปฏิบัติต่อผู้หญิง และการป้องกันสิทธิมนุษยชนในประเด็นอื่น ๆ ต่อสตรี มีพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ.2550 ที่บังคับใช้ฉบับนี้ กลับเป็นสาเหตุหนึ่งบทบัญญัติและมาตราฐานบางอย่างที่เป็นสาเหตุส่งเสริมให้เกิดปัญหาความรุนแรงในครอบครัว และทำให้ผู้หญิงส่วนหนึ่งที่ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวต้องกลับเข้าสู่วงจรความรุนแรง (Cycle Theory of Violence) ตกเป็นจำเลยในคดีอาญา ทำให้ผู้หญิงที่เป็นเหยื่อความรุนแรงในครอบครัวไม่ได้รับประโยชน์สมดังเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติดังกล่าว

บทความนี้ได้นำเสนอแนวทางในการป้องกันและลดความเสี่ยงของการเกิดอาการความเครียดสะสมจากการถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัวและเสนอแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัว พ.ศ. 2550 เพื่อให้ผู้หญิงที่กระทำความรุนแรงตอบโต้กลับจากความเครียดสะสม ได้รับความคุ้มครองจากพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าว โดยเสนอแก้ไขมาตรา 4 ให้มีการกำหนดความผิดฐานกระทำความรุนแรงในครอบครัวให้รวมถึงความผิดฐานทำร้ายร่างกายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 และความผิดฐานฆ่าผู้อื่นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ที่กระทำโดยผู้มีอาการความเครียดสะสมจากการถูกกระทำรุนแรงในครอบครัว เป็นความผิดอันยอมความได้ และเพิ่มเติม มาตรา 15 (5) ไม่นำกระบวนการไกล่เกลี่ยมาใช้บังคับกับผู้หญิงที่มีอาการความเครียดสะสมจากการถูกกระทำความรุนแรงในครอบครัว โดยพิจารณาจากประวัติการถูกกระทำความรุนแรง ประกอบกับการวินิจฉัยจากการตรวจพิสูจน์จากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ รวมถึงมีการแก้ไขในเรื่องเขตอำนาจของศาลเยาวชนและครอบครัวให้ขยายครอบคลุมคดีความรุนแรงในครอบครัวทุกรูปแบบ รวมถึงการกระทำความผิดฐานกระทำความรุนแรงในครอบครัวและความผิดตามกฎหมายอื่นซึ่งกฎหมายอื่นนั้นมีอัตราโทษจำคุกเกินกว่า 6 เดือนหรือปรับเกินกว่า 6,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ หรือให้มีการจัดตั้งศาลความรุนแรงในครอบครัวแบบบูรณาการ (The Integrated Domestic Violence Court)

Abstract

          This article applies the Domestic Violence Victim Protection Act, B.E. 2550 to the case study of a woman who commits violence in response to increasing stress from abuse and violence in her family, also known as Battered Woman Syndrome (BWS). The author discusses how the Domestic Violence Victim Protection Act, B.E. 2550 relates to the United Nation’s Convention on the Elimination of all Forms of Discrimination Against Women (CEDAW). It aims to protect woman rights, determine the standards and norms regarding the treatment of women and address other issues about the protection of women. However, the Domestic Violence Victim Protection Act, B.E. 2550 includes some sections that encourage domestic violence and cause some women who are victims of violence to respond with violence and become defendants in criminal case. This leads to these women not receiving their legal rights contrary to the objectives of the Act

This article presents a way to protect against and reduce the risk of increasing stress from domestic violence and suggests a modification of the Domestic Violence Victim Protection Act, B.E. 2550 to ensure that female victims of violence receive the benefits their rights under this Act. This proposal would modify section 4 to determine the guilty for domestic violence including physical abuse, under section 295 of Criminal Code and guilt for murder under section 288 of Criminal Code in cases where the victim experienced increasing stress from domestic violence In addition, it would modify Section 15 (5) which currently does not include any exceptions for women under stress from domestic violence As modified, the law would take into consideration the record of abuse with the diagnosis from a professional physician If would also change the bounders of authority of the Central Juvenile and Family Courts to cover all kinds of domestic violence Finally, it would include a determination of guilt regarding domestic violence by the Integrated Domestic Violent Court of probation for 6 months or a fine of 6,000 baht, or both.

Downloads

Published

2021-04-27