การมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการกำหนดนโยบายสาธารณะ: กรณีศึกษาการมีส่วนร่วมในการออกข้อบัญญัติท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดสุพรรณบุรี <br> People’s Participation in Public Policy Process: A Case Study of Participation in Ordinance Making of Local Administrative Organizations in Suphanburi, Thailand

Authors

  • ธนสาร จองพานิช

Keywords:

การมีส่วนร่วมของประชาชน, ข้อบัญญัติท้องถิ่น, การประชาคมรับฟังความคิดเห็น, สภาวะเศรษฐกิจและสังคม, วัฒนธรรมการเมือง, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, People’s participation, Local ordinance, Public hearing, Socio-economic, Political culture, Local Administrative

Abstract

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาพัฒนาการของการปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดสุพรรณบุรีโดยมุ่งเน้นในด้านการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการกำหนดนโยบายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยเฉพาะการออกข้อบัญญัติท้องถิ่น และศึกษาปัญหาอุปสรรคและแนวทางแก้ไขปัญหาในการเข้าชื่อประชาชนเพื่อเสนอข้อบัญญัติท้องถิ่นต่อสภาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดสุพรรณบุรีและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอื่นทั่วประเทศ

ผลของการวิจัยพบว่าระดับของการมีส่วนร่วมของประชาชนในการปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดสุพรรณบุรีอยู่ในระดับปานกลางถึงระดับต่ำ ถึงแม้ว่าจะมีการโครงการส่งเสริมการมีส่วนร่วมที่จัดโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแล้วก็ตามแต่กลับได้รับผลตอบรับที่ไม่ค่อยดีนัก กล่าวคือ ประชาชนให้ความสนใจน้อยและคิดว่าเป็นเรื่องไกลตัวและธุระไม่ใช่ ปัญหาอุปสรรคหลักที่พบคือ ปัญหาสภาวะเศรษฐกิจและสังคมคือ ระดับการศึกษา ความยากจน และวิถีชีวิตท้องถิ่น ปัญหาอุปสรรคที่รองคือ กฎ ระเบียบและข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับการปกครองส่วนท้องถิ่น และวัฒนธรรมการเมืองท้องถิ่นของสุพรรณบุรี นอกจากนี้ยังพบปัญหาว่าตัวแบบการมีส่วนร่วมของประชาชนของประเทศโลกตะวันตกไม่สามารถนำมาปรับใช้กับสถานการณ์และสภาพชีวิตความเป็นอยู่ของท้องถิ่นในประเทศไทยได้ ข้อเสนอแนะจากการวิจัยนี้คือ การเพิ่มระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการออกข้อบัญญัติท้องถิ่นต้องเป็นไปโดยการริเริ่มจากประชาชนในท้องถิ่นนั้นๆ เองโดยได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่จากรัฐบาล ซึ่งรัฐบาลจะต้องออกมาตรการหรือนโยบายที่ส่งเสริมให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอันเป็นปัญหาอุปสรรคหลักที่ขัดขวางการมีส่วนร่วมของประชาชน และในขณะเดียวกันนี้ตัวประชาชนเองต้องรับรู้ถึงสิทธิและหน้าที่ของพลเมืองที่พึงมีและปฏิบัติที่จะต้องรู้รับผิดชอบ รักษา และพัฒนาท้องถิ่นของตนเองโดยไม่ต้องพึ่งพิงความช่วยเหลือจากรัฐบาลเพียงอย่างเดียวเท่านั้น

Abstract

          This study aimed: 1) to study the development of local administration in Suphanburi, Thailand, emphasizing people’s participation in policy-making process, i.e. local ordinance; 2) to study and identify the obstacles regarding local ordinances by people’s initiatives in the local administration organizations in Suphanburi; and 3) to provide solutions and policy recommendations for people’s participation in the local administration in the case of local ordinances by people’s initiative in Suphanburi and the entire country of Thailand.

The results of this research provide solutions regarding the problems surrounding people’s participation local administrations, policy recommendations, and recommendations for future research. The three main research questions were asked in order to ascertain the obstacles to the people’s participation in local ordinance creation in Suphanburi. The research results revealed that the total of participation rate in Suphanburi was at a medium to low level. Although the local administrative organizations encourage the people to participate in public hearings, the results turned out to be not attractive. The main obstacle concerned the socio-economic problems, i.e. level of education, poverty, and local ways of life. The second obstacle involved the laws, rules, and regulations related to the local administrations. The third obstacle was the local political culture of Suphanburi. Therefore, the results confirmed the hypotheses that the three obstacles were the main problems concerning the people’s participation in the creation of the local ordinances in Suphanburi. Additionally, the model of people’s participation in the creation of the local ordinances introduced by the western countries could not be applied to the locals in Suphanburi. The bureaucrats that are working closely with the people are not proactive enough to encourage the participation rate. At the same time, the local people were bored, inactive, and did not see the importance of participation in their local ordinance creation process. This research recommended that the increase of people’s participation in local ordinance creation must be carried out by the people themselves with the full of support from the government. Moreover, the government should launch policy to lift up the people’s quality of life, education, and opportunity for making a living, and meanwhile the local people should acknowledge their rights and duties of citizenship; they should be responsible for their local hometown and not just wait for government support.

Downloads

Published

2021-04-27