ปัญหาการตีความและผลกระทบจากการตีความบทบัญญัติเกี่ยวกับการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ตามพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551<br>Problems regarding the interpretation and enforcement of the laws on advertising of alcohol beverages.

Authors

  • จักรกฤษณ์ ด่านเฉลิมนนท์ ที่ปรึกษากฎหมายและทนายความ บริษัท สำนักงานกฎหมายจักรกฤษณ์ แอนด์ แอสโซซิเอทส์ จากัด Legal Counsel and Lawyer Jugkrid and Associates Law Office Co., Ltd.

Keywords:

การตีความกฎหมายอาญา, การบังคับใช้กฎหมายอาญา, เครื่องดื่มแอลกอฮอล์, โทษทางอาญา, เงินสินบนรางวัล, Criminal Law Interpretation, Criminal Law Enforcement, Alcoholic Beverages, Criminal Law Punishment, Rewards

Abstract

บทคัดย่อ

บทความฉบับนี้ได้ทาการวิเคราะห์ประเด็นปัญหาเกี่ยวกับการตีความและการบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ตามมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 โดยผู้เขียนได้นำประสบการณ์ที่เป็นทนายความในคดีดังกล่าวมาวิเคราะห์กับตัวบทกฎหมายตลอดจนคำพิพากษาฎีกาหรือคำวินิจฉัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องทำให้พบว่า กฎหมายดังกล่าวมีประเด็นปัญหาในการตีความและการบังคับใช้อยู่หลายประการ ได้แก่ ปัญหาการตีความมาตรา 32 วรรคแรกที่ได้ห้ามการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยเด็ดขาดหรือไม่ หรือการโฆษณาจะต้องมีลักษณะที่อวดอ้างสรรพคุณหรือชักจูงใจให้ผู้อื่นดื่มโดยตรงหรือโดยอ้อมด้วยจึงจะเป็นความผิด ปัญหาการกำหนดระวางโทษทางอาญาที่สูงเกินไปและไม่เหมาะสมซึ่งสืบเนื่องจากกฎหมายได้บัญญัติความผิดและกำหนดโทษไว้เพียงมาตราเดียวและถูกใช้กับการกระทำความผิดต่อผู้ประกอบการทุกรายนับตั้งแต่ผู้ผลิตไปจนถึงผู้ประกอบการรายย่อยซึ่งแท้จริงแล้วมีลักษณะการกระทำความผิดและความเสียหายที่เกิดขึ้น แตกต่างกันมากจนก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมในการกำหนดโทษขึ้นและปัญหาจากการกำหนดเงินสินบนรางวัลแก่ผู้แจ้งความนำจับซึ่งนำมาซึ่งการแจ้งความนำจับโดยไม่เป็นธรรม โดยผู้เขียนได้ทาการวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นและนำเสนอแนวทางการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดความชัดเจน เหมาะสม และเป็นธรรมต่อไป

Abstract

The paper analyzes the legal issues arising from the interpretation and enforcing section 32 of the Alcohol Beverages Control Act B.E. 2551 (2008). The author uses his experiences as a lawyer representing clients accused of such offence and conducts analysis with the statutory provisions, Supreme Court judgements as well as relevant precedents. As the results, the author founds that the section has several problems regarding the interpretation and enforcement: the problem regarding the interpretation of the section 32 where the provision strictly prohibits all advertisings of alcohol beverages (total ban) or the prohibitions is limited to the advertising that directly or indirectly boast the quality of the alcohol beverages or induce the others to drink the alcohol beverages, the problem regarding inequality punishment where the provision provides only one punishment to be applied to all cases, from local operator to the manufacturer, which the nature of the wrongdoing and the damages resulting from it are different and the problem regarding the reward system where it causes unfair allegation and treatment in the proceeding of the case. The author analyzes these problems and proposes the suggestive ways to amend the relevant laws to make the provision clearer and for justifiable legal enforcement.

Downloads

Published

2020-01-20