มาตรการทางกฎหมายในการกาหนดกรอบวินัยการคลัง: ศึกษากรณีการบริหารหนี้สาธารณะ<br> Legal Measures for Designing a Fiscal Discipline Framework: A Study of Public Debt Management

Authors

  • มณฑาทิพย์ ชุมทอง นิติกรชำนาญการ สานักงานบริหารหนี้สาธารณะ Senior Legal Officer, Public Debt Management Office

Keywords:

หนี้สาธารณะ, วินัยการคลัง, การขาดดุลงบประมาณ, เงินคงคลัง, Public Debt, Fiscal Discipline, Budget Deficit, Treasury Reserves

Abstract

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายที่จะศึกษาถึงปัญหา อุปสรรค และข้อจำกัดในการบริหารหนี้สาธารณะของประเทศไทยที่เป็นอยู่ในปัจจุบันเพื่อนาไปสู่การกาหนดมาตรการหรือแนวทางสำหรับนำไปใช้ในการบริหารจัดการด้านหนี้สาธารณะที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย โดยการศึกษาวิจัยนี้ได้กล่าวถึงการบริหารหนี้สาธารณะเฉพาะในบริบทของการก่อหนี้สาธารณะโดยการกู้เงินและการค้าประกันรวมทั้งได้ศึกษารูปแบบและแนวทางในการกำกับดูแลการบริหารหนี้สาธารณะขององค์การระหว่างประเทศและของต่างประเทศ ทั้งนี้จากการศึกษาวิเคราะห์ดังกล่าวเห็นว่า การบริหารหนี้สาธารณะของประเทศไทยยังมีปัญหาและข้อจำกัดหลายประการและเพื่อให้การบริหารด้านหนี้สาธารณะของประเทศไทยมีความชัดเจนและเหมาะสมมากยิ่งขึ้นจะต้องมีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติการบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 เพื่อให้มีการนับหนี้ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นหนี้สาธารณะ และในส่วนของการกระทาหรือธุรกรรมที่จะต้องนับเป็นการกู้เงินเพื่อให้สะท้อนถึงภาระหนี้ที่หน่วยงานของรัฐต้องผูกพันรับผิดชอบในการชาระคืนเงินต้นและดอกเบี้ยด้วยรวมทั้งการกำหนดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการกู้เงินเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมและการกู้เงินเพื่อให้กู้ต่อให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้น อีกทั้งควรมีการกำหนดวัตถุประสงค์ของการกู้เงินเพิ่มเติม คือ การกู้เงินเพื่อป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะเพื่อรองรับวิกฤติการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตเพื่อให้รัฐบาลมีเครื่องมือที่สามารถใช้ในการแก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงทีหากมีภัยพิบัติสาธารณะเกิดขึ้น นอกเหนือจากข้อเสนอแนะการแก้ไขกฎหมายว่าด้วยการบริหารหนี้สาธารณะดังที่ได้กล่าวข้างต้นแล้ว มีความจำเป็นที่จะต้องกำหนดกรอบวินัยทางการคลังเพิ่มเติมอีก 2 ประเด็นได้แก่ การกำหนดกฎเกณฑ์การกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณที่ต้องไม่เกินร้อยละ 3 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ และกฎเกณฑ์การตั้งงบประมาณรายจ่ายชดใช้คืนเงินคงคลัง โดยต้องระบุแหล่งที่มาของรายได้เพื่อชดใช้คืนเงินคงคลังที่ได้จ่ายไปก่อนทั้งนี้ เพื่อเป็นการเติมเต็มกรอบวินัยทางการคลังในด้านหนี้สาธารณะให้มีความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น

Abstract

This Research aims to study present obstacles, problems, and limitations in public debt management in Thailand to establish proper measures and guidelines for the management of public debt in Thailand. This study discusses public debt management in the context of borrowing and loan guarantee. The study also examines the public debt management monitoring patterns and guidelines of various international organizations and foreign countries. An analysis of public debt management in Thailand reveals that there are currently problems and limitations. For these reasons, the Public Debt Management Act, B.E. 2548 (2005) should be amended to make Thailand’s public debt management more explicit and suitable. Some aspects that require such amendment include counting local administrative organizations’ debt as public debt and defining particular activities or transactions as borrowing to accurately reflect public agencies’ debt burden and obligation to repay principal and interest. Moreover, this study proposes more straightforward criteria and conditions for Development Policy loans and on-lending. An additional borrowing purpose is also suggested – public disaster loans, which can be used as the government’s tool to promptly cope with potential disasters. In addition to the abovementioned amendments to public debt management law, there is a need for two additional fiscal discipline frameworks. Two criteria should be established namely, taking out a loan to finance a budget deficit not exceeding three percent of gross domestic product, and designating out a budgetary appropriation to replenish treasury reserves by identifying a source of income for such repayment. These criteria will reinforce public debt management within the existing fiscal discipline framework and produce concrete public debt management policies.

Downloads

Published

2020-01-20