ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิผู้เสียหายจากบริการทางการแพทย์: กรณีศึกษาเปรียบเทียบในอาเซียน <br>Legal Problems in protecting injured people’s rights arising from medical services: a comparative study of ASEAN countries

Authors

  • รองศาสตราจารย์ธนโรจน์ หล่อธนะไพศาล

Keywords:

ผู้เสียหาย, ทุรเวชปฏิบัติ, บริการทางการแพทย์, ประเทศในอาเซียน, Injured person, Medical malpractice, Medical service, ASEAN countries

Abstract

บทคัดย่อ

งานวิจัยปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิผู้เสียหายจากบริการทางการแพทย์: กรณีศึกษา เปรียบเทียบในอาเซียนเป็นการวิจัยเชิงเอกสาร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะ ปัญหาและกฎหมายที่ บังคับใช้ในการคุ้มครองสิทธิผู้เสียหายที่เสียหายจากบริการทางการแพทย์ การศึกษาพบว่า ประเทศใน อาเซียนต่างยอมรับสิทธิในสุขภาพที่เป็นส่วนหนึ่งของสิทธิมนุษยชน ตามปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิ มนุษยชนแห่งสหประชาชาติ และกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง และสิทธิ ผู้เสียหายขององค์การอนามัยโลกและแพทยสมาคมโลก โดยรับรองสิทธิผู้เสยีหายในหลักการไว้ในกฎหมาย วิชาชีพแพทย์และประมวลจริยธรรมวิชาชีพแพทย์ การคุ้มครองสิทธิผู้เสียหายขึ้นกับการวางระบบบริการ ทางการแพทย์และระบบกฎหมาย ประเทศในอาเซียนล้วนมีเปา้หมายให้บริการทางการแพทย์ครอบคลมุทุก พลเมืองให้สอดคล้องกับสิทธิมนุษยชนและกฎหมายระหว่างประเทศหรือกฎหมายภายในของตนทั้งสิ้น โดย อาจจัดระบบริการทางการแพทย์นำโดยภาครัฐหรือภาคเอกชน แต่ประเทศที่บริการทางการแพทย์ ภาคเอกชนมีศักยภาพคือ ไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ มุ่งไปสู่การขายบริการทางการแพทย์โดยเกิดทัวร์ทาง การแพทย์ขึ้น ในขณะที่ ลาว กัมพูชา เมียนมาร์ยังให้ความสำคัญกับระบบการแพทย์ดั้งเดิม

การคุ้มครองสิทธิในชีวิตและร่างกายที่ประเทศในอาเซียน แม้มีระบบกฎหมายและระบบศาลที่ แตกต่างกันโดย ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม อินโดนีเซียใช้ระบบประมวลกฎหมาย สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ เมียนมาร์ใช้ระบบคอมมอนลอร์  มาเลเซียและบรูไนใช้ระบบคอมมอนลอร์ผสมกฎหมายศาสนา แต่ทุก ประเทศกฎหมายได้รับรองสิทธิในชีวิตและร่างกายให้มีผลในทางกฎหมายไว้ในกฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายทั่วไป การฟ้องคดีทุรเวชปฏิบัติของประเทศในอาเซียนซึ่งพบในไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ และ ฟิลิปปินส์ ที่ใช้หลักความรับผิดละเมิด ส่วนอินโดนีเซียใช้หลักความรับผิดทางอาญา แต่ทุกประเทศมีปัญหา กฎหมายสาระบัญญัติในการฟ้องคดีทุรเวชปฏิบัติคล้ายกัน คือผู้เสียหายหรือผู้ป่วยที่เป็นโจทก์ต่างมีปัญหา ในการพิสูจน์ความผิดของแพทย์ตามองค์ประกอบละเมิดทั้งหมด โดยเฉพาะองค์ประกอบ ละเว้นหน้าที่ อันเป็นการปฏิบัติวิชาชีพที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐานวิชาชีพ ซึ่งมาตรฐานวิชาชีพไม่มีกฎหมายกำหนด รายละเอียดไว้ จึงนำไปสู่การต้องใช้พยานผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชาชีพแพทย์นั้นๆ ให้ความเห็น และปัญหา การรับฟังความเห็นพยานผู้เชี่ยวชาญ ปัญหาค่าเสียหายที่ต่ำ ปัญหาจากกฎหมายวิธีพิจารณาความที่เป็น ภาระผู้ป่วยต้องมีหน้าที่พิสูจน์ในองค์ประกอบละเมิด ปัญหาความยากในการเข้าถึงพยานหลักฐาน ปัญหา การหาพยานผู้เชี่ยวชาญ ปัญหาจากพยานผู้เชี่ยวชาญที่สมคบกัน ฟิลิปปินส์ใช้หลักผลักภาระการพิสูจน์ได้  ปัญหาการพิจารณาคดียาวนาน อินโดนีเซียที่ใช้หลักความรับผิดทางอาญาก็มีปัญหาภาระการพิสูจน์ที่ต้อง พิสูจน์จนสิ้นสงสัย ปัญหาความสอดคล้องของปรัชญาการกฎหมายอาญากับบริการทางการแพทย์ แต่ประเทศที่มีการฟ้องคดีได้พยายามแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากกระบวนการพิจารณาคดีโดยใช้กระบวนการ ระงับข้อพิพาททางเลือกทั้งทางแพ่งและทางอาญา การแก้ไขกฎหมายวิชาชีพ ระเบียบวิชาชีพ การมี ประกันภัยวิชาชีพ 

Abstract

The main objective of this study is to explore legal issues arising from medical services in ASEAN member states. The methodology used for this study is documentary research. The emphasis is on the rights provided by legislation in the ASEAN member states. This study involves documentary research into the laws of ASEAN countries regarding the provision of medical services, with a focus on the nature of those laws and problems in their enforcement with regard to the protection of patients’ right. The members of ASEAN have implemented the right to health as provided for in the Universal Declaration of Human Rights and the International Covenant on Civil and Political Rights, to which they are parties by virtue of their membership in the United Nations. They have also incorporated the patients’ rights promulgated by the World Health Organization, as to Medical law and the Code of Medical Ethics of the World Medical Association into their medical laws. The protection of patients’ rights depends on the medical services system and the legal system. ASEAN countries have focused on providing universal health care to consistent with human rights and international and domestic law, and their medical service systems must accommodate both the public and private sectors. The medical services provided by the private sector in Thailand, Malaysia and Singapore are very competitive in the market for selling medical services to medical tourists. Lao, Cambodia and Myanmar encourage the use of traditional medicine. 

Legal protections against malpractice in the provision of medical services are diverse across the various legal systems of the ASEAN member states. Thailand, Lao, Cambodia, Vietnam and Indonesia apply civil law, while Singapore, the Philippines, and Myanmar are common law states. Malaysia and Brunei Darussalam have separate, parallel legal systems applying common law and Shariah law. Nonetheless, ASEAN countries have incorporated the right to life in their constitutional law and state law. Medical malpractice is treated as a civil tort in ASEAN member states such as Thailand, Malaysia, Singapore and the Philippines, where the amount of litigation is increasing. Indonesia, on the others hand, applies criminal liability for medical malpractice. These countries experienced legal problems with the substantive law that governs medical malpractice ligation. Plaintiffs have had difficulty proving professional malpractice based on the elements of tort liability, especially proving breach of duty, which is not standard within the medical practice. The proper standard of medical practice is not defined in the law, causing many problems for plaintiffs. In particular, plaintiffs have the burden of proof on providing the opinions of expert witnesses, on assigning the proper weight to expert opinions, and low compensatory damages.  These problems for plaintiffs in meeting the burden of proof with regard to the elements of tort liability are matters of procedural law; moreover, plaintiffs have difficulty obtaining documentary evidence and locating expert witnesses. Sometimes, potential experts have engaged in a conspiracy of silence. Consequently, the Philippines has applied the doctrine of Res Ipsa Loquitur to change the burden of proof. In Indonesia, where criminal liability is applied to medical malpractice, it is difficult for plaintiffs to prove their claims beyond a reasonable doubt. It has also taken a lone time to settle their legal disputes. The ASEAN countries have attempted to solve the problems associated with these legal proceedings by using alternative dispute resolutions for both civil and criminal cases, by amending their medical laws and the rules of medical practice, and by using professional insurance.

Downloads

Published

2019-07-31