ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการส่งออกสินค้าไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้ : ศึกษากรณีผลกระทบจากการบังคับใช้กฎหมายป่าไม้ ธรรมาภิบาล และการค้าของสหภาพยุโรป<br> Legal Problems of Exporting Timber and Timber products: A case study of the Effects of the European Union’s Forest Law Enforcement, Governance and Trade (FLEGT) Action Plan

Authors

  • ลภัสรดา ปาณะสิทธิ์ นักศึกษาปริญญาเอก คณะนิติศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ Student, LL.D. Program, Faculty of Law, National Institute of Development Administration (NIDA)

Keywords:

มาตรการ FLEGT, การส่งออกสินค้าไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้, FLEGT Action Plan, Exporting Timber and Timber Products

Abstract

บทคัดย่อ

ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ทวีความรุนแรงและส่งผลกระทบไปทั่วโลก ทำให้นานาชาติต่างหันมาให้ความ สนใจในประเด็นการตัดไม้ทำลายป่าอันเป็นต้นเหตุสำคัญของปัญหา สหภาพยุโรปในฐานะเป็นกลุ่มประเทศผู้ นำเข้าสินค้าไม้มากเป็นอันดับ 3 ของโลก จึงประกาศใช้บังคับกฎหมายป่าไม้ ธรรมาภิบาล และการค้า หรือ Forest Law Enforcement, Governance and Trade (FLEGT) เมื่อวันที่ 3 มีนาคม ปี พ.ศ. 2556  มาตรการที่ส าคัญของ FLEGT คือ การห้ามประเทศสมาชิกนำเข้าสินค้าไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้ที่ไม่มี ใบอนุญาต FLEGT หรือไม่สามารถแสดงเอกสารรับรองกระบวนการผลิตทั้งห่วงโซ่อุปทานไม้ ตามระบบการตรวจทานเอกสารของสหภาพยุโรปได้ ส่งผลให้ประเทศผู้ส่งออกสินค้าไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้ รวมทั้งประเทศไทยจำต้องเข้าร่วมในข้อตกลงระหว่างประเทศที่มีชื่อว่า ข้อตกลงการเป็นหุ้นส่วนด้วยความ สมัครใจกับสหภาพยุโรป (Voluntary Partnership Agreement: VPA) และมีพันธสัญญา ต้องด าเนินการปรับปรุงกฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับเกี่ยวกับการบริหารจัดการป่าไม้และควบคุมห่วงโซ่ อุปทานไม้ ให้สอดคล้องกับมาตรการ FLEGT เพื่อรักษาตลาดทางการค้าไม้ระหว่างประเทศ จากการศึกษาพบว่า กฎหมายเกี่ยวกับการบริหารจัดการป่าไม้ของไทยในปัจจุบันบางส่วน ยังไม่สอดคล้องกับมาตรการ FLEGT และอาจมีลักษณะที่เป็นอุปสรรคต่ออุตสาหกรรมป่าไม้ของไทย เช่น ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 106/2557 ที่แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 โดยกำหนดเพิ่มเติมชนิดของไม้หวงห้ามจากเดิม 2 ชนิด เป็น 17 ชนิด ซึ่งกำหนดให้ต้องเป็นไม้หวงห้าม ประเภท ก ไม่ว่าจะขึ้นอยู่ที่ใดในราชอาณาจักร ส่งผลให้ไม้ซึ่งเป็นที่ต้องการของตลาดค้าไม้ทั่วโลกต้องตกเป็น ไม้หวงห้ามแม้ปลูกบนที่ดินของเอกชนก็ตาม และพระราชบัญญัติสวนป่า (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๕๘ ที่กำหนด ภาระหน้าที่ให้ผู้ประกอบการต้องปฏิบัติตามซึ่งเป็นการสร้างภาระเงื่อนไขให้แก่ผู้ประกอบการและส่งผลกระทบ ต่อต้นทุนการผลิตอันเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมไม้ อีกทั้งการกำหนดบทลงโทษจำคุกในกรณีฝ่าฝืน เป็นการก าหนดโทษที่ไม่สอดคล้องและเหมาะสมกับความผิดซึ่งเป็นการกำหนดโทษที่รุนแรงเกินควร ทั้งที่ ประเทศไทยมีศักยภาพด้านภูมิศาสตร์ของไทยที่เอื้อต่อการปลูกไม้เบญจพรรณเชิงเศรษฐกิจที่ควรส่งเสริมให้มี การปลูก เพื่อเป็นสินค้าส่งออกซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมการส่งออกสินค้าไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้ ของไทยทั้งในมิติของความมั่นคงทางเศรษฐกิจและการพัฒนาการค้า การส่งออกของไทยให้ก้าวสู่ความเป็น ประเทศผู้ผลิตและส่งออกผลิตภัณฑ์จากไม้ที่มีกระบวนการผลิตที่เป็นสากลไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม และ สอดคล้องกับหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน 

Abstract

On account of environmental problem, which has a lot of impacts to the Globe, all Nations draw the attention into illegal timber which is one of the root causes of Forest destruction. European Union (EU), the 3rd largest region that imports timber and timber products, then has implemented the Forest law Enforcement, Governance and Trade (FLEGT) on 3 March 2013.  FLEGT prohibit the exporters which do not have FLEGT license to export Timber and Timber products to EU, unless the exporters could declare the FLEGT license or Certificate of Processing and Supply Chain Management, for the Timer and its products, that are complied with the EU documentation audit processes. It forces all countries, including Thailand, to take part in the FLEGT implementation by participating in the Voluntary Partnership Agreements: VPA, and commit to amend their Laws, Rule and Regulations related to the Forest Management and Timber Supply Chain Management, if any, to be in line with the FLEGT in order to receive FLEGT license and maintain the major export market of Timber and Timber products.  The research shows that Thai forest management laws, rules and regulations have become a hindrance to the Thai forest industry and are not in accordance with the EU FLEGT. At present, the National Council for Peace and Order has issued the announcement No. 106/2557 to amend the Forest Act, B.E. 2484 and the Forest Plantation Act No. 2, B.E. 2558

According to the former amended law, restricted timber types are added to the list from 2 (two) to 17 (seventeen) regardless of where they are in the Kingdom. As a result, those restricted timbers are prohibited to be sold although they are planted and grown by a private sector. Moreover, the latter amended law has put some obligations on operators which seem to hinder the development of Thailand’s timber industry. In addition, one might consider prison sentences to people who are not in compliant with the law as too severe punishment. The aforementioned laws, therefore, need to be updated and amended in order to promote the country’s timber industry and to comply with the EU FLEGT. This will benefit the Thai timber product export industry both in the economic stability and the trade development dimensions. Furthermore, the laws will facilitate Thailand to be a timber product exporter whose production meets a global standard, environmentally friendly in consistent with the principle of sustainable development.

Downloads

Published

2019-03-05