การตีความความเหมือนของคดีตามระบบอำนาจเสริมของศาลอาญาระหว่างประเทศ<br> Interpreting the Sameness of Cases under the System of the International Criminal Court Complementarity

Authors

  • กิตติ ชยางคกุล นิสิตหลักสูตรนิติศาสตรดุษฎีบัณฑิต (จุฬาฯ), LL.M. in International Human Rights Law (Lund), น.ม. (จุฬาฯ), น.บ. (ธรรมศาสตร์); อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย

Keywords:

หลักอำนาจเสริม, ศาลอาญาระหว่างประเทศ, ความเหมือน, คดีเดียวกัน, การกระทำเดียวกัน, บุคคลเดียวกัน, principle of complementarity, ICC, sameness, same case, same conduct, same person

Abstract

บทคัดย่อ
ตามบทบัญญัติของธรรมนูญกรุงโรมว่าด้วยศาลอาญาระหว่างประเทศ (Rome Statute of the International Criminal Court) เขตอำนาจของศาลอาญาระหว่างประเทศเป็นไปตามกลไกหลักอำนาจเสริม (the principle of complementarity) ซึ่งกำหนดให้ศาลอาญาระหว่างประเทศเสริมการใช้อำนาจศาลในทางอาญาของศาลภายในของรัฐ ตามหลักนี้ศาลอาญาระหว่างประเทศจะแทรกแซงเข้าใช้อำนาจศาลก็ต่อเมื่อกระบวนการยุติธรรมภายในของรัฐล้มเหลวในการสืบสวนสอบสวนหรือฟ้องร้องดำเนินคดี ทั้งนี้ตามหลักอำนาจเสริม ศาลอาญาระหว่างประเทศจะไม่รับคดีไว้พิจารณาหากคดีนั้นกำลังอยู่ในระหว่างการสืบสวนสอบสวนหรือการฟ้องร้องดำเนินคดี หรือได้รับการสืบสวนสอบสวนแล้วโดยรัฐที่มีอำนาจเหนือคดีนั้น แต่อย่างไรก็ดี ธรรมนูญ กรุงโรมฯ ไม่ได้ให้คำนิยามหรืออธิบายถ้อยคำว่าอำนาจเสริมไว้แต่อย่างใด ส่งผลให้ในทางปฏิบัติเกิดปัญหาการตีความ “คดี” ที่ถูกดำเนินคดีโดยศาลภายในของรัฐภายใต้กลไกของระบบอำนาจเสริมนี้ บทความนี้มุ่งจะพิจารณาเฉพาะในส่วนของการปรับใช้หลักอำนาจเสริมของศาลอาญาระหว่างประเทศและการตีความความเหมือนกัน (sameness) ของ “คดี” ตามระบบอำนาจเสริมของศาลอาญาระหว่างประเทศตามแนวคำวินิจฉัยของศาลอาญาระหว่างประเทศ เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ชัดเจนมากขึ้นเกี่ยวกับการปรับใช้หลักอำนาจเสริมของศาลอาญาระหว่างประเทศในทางปฏิบัติ ต่อไป

Abstract
Under the Rome Statute of the International Criminal Court (ICC), the ICC jurisdiction is based on the principle of complementarity, which the Court shall complementary to national criminal jurisdiction. Regarding this, the ICC will step in to exercise its jurisdiction only when domestic courts fail to carry out the investigation or prosecution. According to this principle, the case is inadmissible when the case is being investigated or prosecuted or has been prosecuted. However, the Rome Statute does not provide explicit definitions of such phases. In practice, the ICC rules that the case before domestic court must be the same case as before the ICC. This article aims at analyzing the application of the principle of complementarity and the interpretation of the sameness of cases through the jurisprudence of the ICC for their better understanding.

Downloads

Published

2018-08-02