การจัดการความปลอดภัยสนามกีฬาฟุตบอลในประเทศอังกฤษ<br> Safety Management at Football Grounds in England

Authors

  • ปีดิเทพ อยู่ยืนยง น.บ. (ม.กรุงเทพ), LL.M. (De Montfort), Ph.D. (De Montfort); อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
  • สุธาสินี สุภา น.บ. (เกียรตินิยมอันดับ 2) (เชียงใหม่) , น.ม. (จุฬา); อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Keywords:

ความปลอดภัยในสนามกีฬาฟุตบอล, การจัดการความปลอดภัยในกีฬาฟุตบอล, สนามกีฬาฟุตบอล, กฎหมายกีฬา, Football Grounds Safety, Football Safety Management, Football Stadiums, Sports Law

Abstract

บทคัดย่อ
แม้ว่าในการแข่งขันฟุตบอลลีกอาชีพ ในประเทศอังกฤษ จะได้กำหนดเกณฑ์มาตรฐานความปลอดภัยในสนามกีฬาฟุตบอล ซึ่งสโมสรกีฬาฟุตบอลที่เป็นสมาชิกของการแข่งขันฟุตบอลลีกอาชีพจะต้องปฏิบัติตามเกณฑ์ดังกล่าวเพื่อคุ้มครองสุขภาพและความปลอดภัยของผู้ชมการแข่งขันกีฬาฟุตบอลที่เข้ามาชมการแข่งขันในสนามกีฬาฟุตบอลของสโมสรกีฬาฟุตบอลอาชีพ และหลักเกณฑ์เหล่านี้ก็ยังช่วยให้เจ้าหน้าที่และพนักงานรักษาความปลอดภัยของสโมสรกีฬาฟุตบอลอาชีพสามารถที่จะจัดการหรือลดความเสี่ยงต่อผู้ชมการแข่งขันกีฬาฟุตบอล องค์กรกำกับดูแลกีฬาฟุตบอลอาชีพของอังกฤษได้ตระหนักถึงอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นต่อผู้ชมการแข่งขันกีฬาฟุตบอลที่เข้ามาชมการแข่งขันในสนามกีฬาฟุตบอลของสโมสรต่างๆ ที่จัดการแข่งขันฟุตบอลลีกอาชีพ ทำให้องค์กรดังกล่าวได้พยายามหาทางป้องกันพฤติกรรมบางอย่างของผู้ชมการแข่งขันกีฬาฟุตบอลที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อความปลอดภัยในสนามกีฬาฟุตบอล นอกจากนี้ ในประเทศอังกฤษก็ยังมีองค์กรกำกับดูแลความปลอดภัยในสนามกีฬาฟุตบอล ได้แก่ สำนักงานกำกับความปลอดภัยสนามกีฬา (Sports Grounds Safety Authority หรือองค์กร SGSA) อันมีภาคกิจหลักในการกำหนดเกณฑ์มาตรฐานควบคุมพฤติกรรมผู้ชมการแข่งขันกีฬาฟุตบอลเพื่อความปลอดภัยในสนามกีฬาฟุตบอลในระหว่างเกมการแข่งขันกับควบคุมมาตรฐานสนามกีฬาฟุตบอลในฐานะที่เป็นอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างสำหรับจุผู้ชมการแข่งขันกีฬาฟุตบอลที่ได้เข้ามาชมการแข่งขันในสนามกีฬาฟุตบอล ซึ่งสำนักงานกำกับความปลอดภัยสนามกีฬาดำเนินกิจกรรมกำกับดูแลความปลอดภัยในสนามกีฬาฟุตบอลโดยอาศัยระบบการให้ใบอนุญาตอันถือเป็นกลไกในเชิงนโยบายและกฎหมายที่ไม่เพียงจะสร้างเกณฑ์มาตรฐานให้ของการแข่งขันฟุตบอลลีกอาชีพหรือสโมสรกีฬาฟุตบอลอาชีพจะต้องเคารพเท่านั้น หากแต่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเหล่านี้ก็จะต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดเพื่อสร้างความปลอดภัยในสนามกีฬาฟุตบอลขณะที่มีการดำเนินการแข่งขันกีฬาฟุตบอล บทความฉบับนี้ นำเสนอหลักการจัดการความปลอดภัยในการแข่งขันกีฬาฟุตบอลที่ได้ถูกนำเอามาปฏิบัติในประเทศอังกฤษ ทั้งในเชิงนโยบายและกฎหมายกีฬา ซึ่งหลักปฏิบัติในประเทศอังกฤษอาจมีส่วนช่วยให้ประเทศไทยสามารถแก้ปัญหาการเกิดอุบัติเหตุ การก่อความรุนแรงและการแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของผู้ชมการแข่งขันกีฬาฟุตบอลในประเทศไทย อีกทั้งยังช่วยเสริมสร้างสภาวะแวดล้อมด้านอาชีวอนามัยกับความปลอดภัยในการทำงานของเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในสนามกีฬาฟุตบอล

Abstract
Although each of the series of interconnected leagues for association football clubs in England emphasises similar aspects of safety in football stadiums, club members of each league share the common goal of protecting the health and safety of football supporters in football stadiums and assisting club safety officers and staffs in eliminating or reducing the football spectator risks. England’s football governing bodies, even though concerned about main potential hazards at all football grounds, have emphasised the prevention of unacceptable spectator behaviour in football stadium. Additionally, football safety bodies in England (football grounds safety organisations involved in delivering and regulating spectator safety in England), although they do not ignore unwanted behaviour, have been a source of sports policy makers on the identification and control of hazards associated with the unwanted behaviour by football spectators. The Sports Grounds Safety Authority (SGSA) is distinguished by providing football licensing system aimed at football spectator misbehavior protection and safe standing promotion. The SGSA’s football licensing system includes not only designation for both development and for benchmarking of football safety, but also offers advice and guidance in respect of spectator safety at any football grounds irrespective of the football sport. This article is aimed at providing grounds for the description of football grounds safety in England developed through football safety management in the broad field of sports law and policy. It may give hints to Thailand’s football governing bodies to improve football grounds safety by eliminating football grounds accidents and spectator violence and misbehaviour at football events in Thailand, pursuing more aware of safety, and creating a safe occupational environment for football stadium staffs.

Downloads

Published

2018-08-02