การประยุกต์หลักคำสอนของพระพุทธเจ้าในการวิเคราะห์ และการตีความกฎหมาย<br> Applying the Doctrine of the Buddha in Legal Analysis and Interpretation of the Law

Authors

  • รองศาสตราจารย์ จุฑามาศ นิศารัตน์ อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

Keywords:

พุทธศาสนา, การตีความกฎหมาย, การวิเคราะห์กฎหมาย, Buddhism, Interpretation of the Law, Legal Analysis

Abstract

บทคัดย่อ
กฎหมายบัญญัติขึ้นมาเพื่อรับใช้มนุษย์ และมนุษย์สร้างศาสนาเพื่อใช้เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวในการดำรงชีวิต เช่นเดียวกัน ทั้งศาสนาและกฎหมายมีในสังคมมนุษย์เท่านั้น พุทธศาสนาเป็นทั้งศาสนาและปรัชญา คำสอนของพระพุทธเจ้าจึงเป็นปรัชญาที่สามารถนำมาใช้เป็นหลักและแนวทางในการวิเคราะห์และการตีความกฎหมายซึ่งมีหลายหลักแนวคิด แต่ที่สำคัญซึ่งเป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา เช่น ไตรลักษณ์ อริยสัจสี่ โอวาทปาติโมกข์ ปฎิจจสมุปบาท
ไตรลักษณ์ เป็นหลักคำสอนที่สำคัญของพุทธศาสนา นั่นหมายถึงเป็นปกติของทุกสิ่งบนโลกที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป เช่นเดียวกับกฎหมาย ย่อมเกิดปัญหา ต้องหาทางแก้ไขปรับปรุงเพื่อให้ปัญหานั้นสิ้นไป
อนิจจัง หมายถึง ทุกสิ่งในโลกย่อมมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ไม่มีอะไรที่แน่นอน คงอยู่ตลอดเวลา กฎหมายก็เช่นเดียวกัน ย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามสังคมที่เปลี่ยนไป กฎหมายย่อมมีประวัติศาสตร์ที่มา มีวิวัฒนาการอยู่เสมอ เป็นพลวัตรของกฎหมาย เรียกว่าเป็นการเคลื่อนตัวของกฎหมาย เมื่อบัญญัติมาแล้ว ย่อมต้องการการเปลี่ยนแปลงปรับปรุง
ทุกขัง (ความเครียดและความขัดแย้ง) หมายถึงความทุกข์ทรมาน ทุกสิ่งเป็นทุกข์ เมื่อกฎหมายเกิดปัญหา เกิดความขัดแย้ง เกิดทุกข์ ที่ต้องตีความหรือต้องมีการวิเคราะห์กฎหมายเพื่อแก้ปัญหาทุกข์ที่เกิดขึ้น
อนัตตา ความไม่มีตัวตน มีความหมายว่า ทุกสิ่งทุกอย่างไม่มีความหมายแห่งความเป็นตัวเป็นตน ไม่มีลักษณะอันใดที่จะทำให้เรายึดถือได้ว่ามันเป็นตัวเรา ของเรา ถ้าเห็นอย่างแจ่มแจ้งชัดเจนถูกต้องแล้วย่อมรู้สึกได้ถึงว่าสิ่งทั้งปวงไม่ใช่ตัวตน แต่ที่เราไปหลงเห็นว่าใช่ เป็นตัวเป็นตนนั้น ก็เพราะความไม่รู้อย่างถูกต้องนั่นเอง สำหรับกฎหมาย การตีความและการวิเคราะห์กฎหมายต้องไม่ยึดถือตัวเองเป็นที่ตั้ง
สัจธรรมที่เป็นหลักใหญ่ในพระพุทธศาสนาคือ อริยสัจสี่ ความจริงอันประเสริฐสี่ประการ

1. ทุกข์ คือความจริงของความทุกข์ทรมาน ธรรมชาติของชีวิตมนุษย์ย่อมเกิดทุกข์ เมื่อเกิดปัญหาในการบังคับใช้กฎหมายนั้นคือเกิดทุกข์
2. สมุทัย ในทางพระพุทธศาสนา ค้นหาความจริงซึ่งเป็นสาเหตุแห่งทุกข์ กฎหมายบ้านเมือง มีปัญหาต้องค้นหาสาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้นในกฎหมายเพื่อหาทางแก้ไข
3. นิโรธ หมายถึง การยุติการทุกข์ทรมาน หยุดยั้งความทุกข์ที่เกิดขึ้น เมื่อมีปัญหาในการปรับใช้ตัวบทกฎหมายคือเกิดทุกข์ ก็ต้องหาทางแก้ปัญหาทุกข์ทรมานโดยการตีความ หรือแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายให้สาเหตุแห่งปัญหานั้นหมดไป
4. มรรค ความจริงของเส้นทางที่ช่วยให้เรารอดพ้นจากความทุกข์ยาก เป็นหนทางดับทุกข์ แนวทางการแก้ไขปัญหา (ทุกข์) ของกฎหมายต้องใช้ทฤษฎีกฎหมายประยุกต์
โอวาทปาติโมกข์ เป็นหลักคำสอนสำคัญของพระพุทธศาสนา ศีล สมาธิ ปัญญา การตีความและการวิเคราะห์กฎหมายต้องประกอบด้วย ปัญญา ศีล สมาธิ คำนึงถึงผลที่จะเกิดขึ้นให้เกิดความเที่ยงธรรม
ปฏิจจสมุปบาท เป็นหลักธรรมที่แสดงกฎของธรรมชาติ เป็นจุดกำเนิดของกฎหมายธรรมชาติถึงความเป็นเหตุเป็นผล และความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กัน จนเป็นผลให้เกิดทุกข์ และแสดงเหตุที่ทำให้ทุกข์นั้นดับลงไป
การนำหลักธรรมะแม้เพียงบางส่วนของพระพุทธเจ้ามาใช้ในการตีความและการวิเคราะห์กฎหมายก็จะทำให้การบังคับใช้กฎหมายก่อให้เกิดความชอบธรรม ความเป็นธรรม เป็นไปตามหลักจริยธรรม ทำให้สังคมนั้นเป็นสังคมที่มีคุณธรรม

Abstract
The law is meant to serve human. Humans create religion to solve human life. Law is in human society. Religion is also in human society as well. Buddhism is both a religion and a philosophy. The doctrine of the Buddha,s philosophy can be applied to Interpretation and analysis of law such as Ti-lakkhana (Three common characteristics of existence). The Four Noble Truths Ovada Patimokha Paticca-samuppada
Ti-lakkhana (Important Doctrines of Buddhism). That means a normal thing of all things on earth happened, set and extinguished. Just like the law, the problems must have a solution. Problems must be solved.

Anicca (impermanent) means things are always changing. Nothing can stand still forever. Laws are the same, social change law change. The law has always evolved in history. That is the dynamics of the law.
Dukkha (stress and conflict) means suffering. All things are of a distressful Dukkha are misery of the law. When the interpretation and analysis of the law was troubled, there was a problem. (Suffering)
Anatta. Nonself means non-existence, means nothing. Everything has no meaning of embodiment. There is no way we can hold that it is ours. If you see clearly right, the feeling of selfless will happen in its entirety. We went to see that embodied because of unknown accurate enough. For legal interpretation and analysis, the law does not place itself on the premises.
The major virtue in Buddhism is the Four Noble Truths. The truths are:
1. Dukkha The truth of suffering. Which are normal incidents of life. The nature of human life is suffering. …The problem with law enforcement is that it is suffering.
2. Samudaya. The truth of the cause of suffering. Suffering is the cause of problems in the law that need fixing.
3. Nirhodha. The truth of the end of suffering Which means cessation of suffering. The sorrows include extinguishing the cause of suffering. When a problem in law, it must find a way to stop suffering problems.
4. Magga. The truth of the path that frees us from suffering. The path to suffering. The solution to the problem of law (Dukkha) requires applied legal theory.
Ovada Patimokha. The highest goal of Buddhism Sila (moral ethics), Samadhi (concentration) and Panna (wisdom). Interpretation and analysis of the law must be done with wisdom, morality, and concentration Paticca-samuppada. It is a principle that represents the laws of nature. The Law of Dependent Origination is natural law which is the root of cause and the root of effect and Interrelated of the arising and disappearing of suffering.
The principle of Dharma, although only part of the Buddha, is used in Law interpretation and analysis of the law, Moral, Equity, Ethics. Make the society a moral society.

Downloads

Published

2018-08-02