มาตรการกฎหมายสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์เพื่อปกป้องภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสินค้าอาหารในประเทศสมาชิกอาเซียน : บทเรียนสำหรับประเทศไทย<br> The Legal Measures of Geographical Indication for Protection of Traditional Knowledge on Food Products in ASEAN Community: Lessons for Thailand

Authors

  • รองศาสตราจารย์ ดร. ทวีพฤทธิ์ ศิริศักดิ์บรรจง นบ., นม.(สาขากฎหมายเอกชน), ดุษฎีบัณฑิต (สาขานิติศาสตร์) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, LL.B, LL.M (Private Law), LL.D, Faculty of Law Thammasat University, รองศาสตราจารย์ประจำบัณฑิตวิทยาลัยสาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม, รองคณบดีบัณฑิตวิทยาลัยสาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
  • ดร.ชูชีวรรณ ตมิศานนท์ นบ., นม.(กฎหมาย) มหาวิทยาลัยรามคำแหง, LL.B, LL.M (Law) Ramkhamhaeng University, Ph.D. (Law), Department of Theory and History of Law and State Doctrines, Faculty of Law, Saint-Petersburg State University, RUSSIA, รองสารวัตร กลุ่มงานสอบสวน กองบังคับการสืบสวนสอบสวนตำรวจภูธรภาค 3

Keywords:

ประเทศสมาชิกอาเซียน, กฎหมายสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์, สินค้าอาหารไทย, ภูมิปัญญาท้องถิ่น, ความตกลง TRIPS, ASEAN Community, Geographical Indication, Thai products food, Traditional Knowledges, TRIPS Agreement

Abstract

บทคัดย่อ

ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศสมาชิกอาเซียน ดังนั้นประทศไทยจึงมีพันธกรณีที่ต้องปฏิบัติตามพิมพ์เขียวประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 2015 (AEC Blueprint 2015) และความตกลง TRIPS ขององค์การการค้าโลก (Trade-Related Aspects of Intellectual Property Rights หรือ TRIPS) รัฐบาลไทยจึงได้ออกกฎหมายภายใน คือ "พระราชบัญญัติคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์" เมื่อปี พ.ศ.2546 พระราชบัญญัติฉบับนี้มีสาระสำคัญคือการส่งเสริมการใช้สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ในเชิงพาณิชย์ควบคู่กับการรักษาไว้ซึ่งภูมิปัญญาท้องถิ่น ส่งผลให้ชุมชนไทยมีรายได้เพิ่มมากขึ้น พร้อมๆ กับการบูรณาการเศรษฐกิจไทยเข้าสู่เศรษฐกิจโลก แต่เหตุที่ประเทศไทยเป็นเพียงผู้ปฏิบัติตามพันธกรณีความตกลง TRIPS ไม่ใช่ผู้สร้างความตกลง TRIPS พระราชบัญญัติคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ พ.ศ.2546 ของประเทศไทยจึงมีบทบัญญัติที่ไม่สอดคล้องกับธรรมเนียมการใช้ชื่อแหล่งภูมิศาสตร์ของชาวไทยและธรรมเนียมการผลิตสินค้าอาหารไทย ปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าวจึงสมควรได้รับการแก้ไข โดยประเทศไทยสามารถใช้ประสบการณ์การใช้กฎหมายสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ในประเทศสมาชิกอาเซียน ร่วมกับการคำนึงถึงการปฏิบัติตามพันธกรณีความตกลง TRIPS

Abstract

As a member state of the Association of South East Asian Nations (ASEAN), Thailand has an obligation to implement its commitment set out in the AEC Blueprint and the Agreement on Trade-Related Aspects of Intellectual Property Rights (TRIPS). Thailand, therefore, has enacted the Geographical Indication Protection Act in 2003.
This Act is to purpose the use of geographical indications in term of the commercially with the preservation of local knowledge. As a result, Thai communities earn better revenue. In addition, this integrates Thai economy with the global economy. However, Thailand and ASEAN are only compliances as we did not play a role in the conclusion the TRIPS Agreement. Some provisions of Geographical Indications Protection Act B.E. 2546 (2003) are irrelevant with Thai naming of geographical indications and customary Thai food production. The law therefore should be amended with an application of experiences on GI laws among ASEAN countries together with consideration of TRIPS missions.

Downloads

Published

2018-08-02