การแก้ปัญหาการขัดกันของเขตอำนาจศาลในอาเซียน ด้วยความตกลงระหว่างประเทศโดยอาศัยหลัก forum non conveniens และ lis pendens <br>Resolving Problems on Conflict of Jurisdictions Problems by International Agreement based on forum non conveniens and lis pendens Principles

Authors

  • อาทิตย์ ปิ่นปัก อาจารย์ประจำหลักสูตรบัณฑิตศึกษา หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต (ภาษาอังกฤษ) และหลักสูตรสองปริญญา (ร่วมกับมหาวิทยาลัยเดอะเวสท์ออฟอิงแลนด์ [UWE, Bristol, the UK]) คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ; ผู้ประนีประนอมข้อพิพาทประจำสถาบันอนุญาโตตุลาการ; ผู้ประนีประนอมข้อพิพาทประจำศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง; ผู้ประนีประนอมระหว่างประเทศประจำศูนย์ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทร่วมระหว่างจีนแผ่นดินใหญ่และเขตปกครองพิเศษฮ่องกง * Lecturer, Graduate School of Law, Assumption University; Mediator of Thailand Arbitration Center, Intellectual Property and International Trade Court and Mainland-Hong Kong Joint Mediation Center.

Keywords:

ความตกลงเลือกศาล, การขัดกันของเขตอำนาจศาล, การดำเนินคดีแบบคู่ขนาน, การขัดกันของคำพิพากษา, Choice of Court Agreement, Conflict of Jurisdictions, Parallel Proceeding, Conflict of Judgments

Abstract

บทคัดย่อ

ฝ่ายโจทก์ในคดีเกี่ยวกับข้อพิพาทที่เกิดจากสัญญาระหว่างประเทศสามารถที่จะเลือกฟ้องคดีในศาลของประเทศต่างๆ ที่มีความเกี่ยวข้องพัวพันกับสัญญาดังกล่าวได้ตามกฎหมายว่าด้วยเขตอำนาจศาลของแต่ละประเทศ เหตุการณ์เช่นนี้ทำให้เกิดความไม่แน่นอนในการดำเนินคดีระหว่างประเทศ ทำให้มีความเสี่ยงเกิดขึ้น ทำให้เกิดความซ้ำซ้อนในการพิจารณาคดี และปัญหาต่างๆที่อาจเกิดขึ้นจากการขัดกันของเขตอำนาจศาล
ในทวีปยุโรป ก่อนที่จะมีการรวมตัวกันเป็นสหภาพยุโรป ประเทศต่างๆ ได้มีการใช้หลักกฎหมายภายในของตนเพื่อแก้ไขปัญหาจากเหตุการณ์ดังกล่าว ประเทศในกลุ่ม Common Law System จะใช้หลัก forum non conveniens โดยศาลจะพิจารณาจากความสามารถในการอำนวยความยุติธรรมของศาลที่รับคดีไว้ ว่ามีศาลอื่นที่มีโอกาสในการอำนวยความยุติธรรมได้มากกว่าหรือเปล่า ถ้ามี ศาลที่รับคดีไว้พิจารณาจะสั่งพักหรือจำหน่ายคดีเพื่อให้คู่ความไปดำเนินคดี ในศาลอื่นนั้นที่มีความสะดวกหรือมีโอกาสที่จะอำนวยความยุติธรรมได้มากกว่า
ในขณะที่ประเทศในกลุ่ม Civil Law System จะใช้หลักเรื่อง lis alibi pendens ซึ่งศาลที่รับคดีไว้พิจารณาจะไต่สวนว่ามีข้อพิพาทที่ประเด็นแห่งคดีเป็นเรื่องเดียวกันกำลังอยู่ในการพิจารณาโดยศาลอื่นอยู่หรือไม่ ถ้าหากเป็นคดีที่มีการดำเนินการอยู่ในศาลอื่นอยู่แล้ว ศาลที่รับคดีไว้พิจารณาในภายหลังจะมีคำสั่งจำหน่ายคดี เพื่อให้คู่ความไปดำเนินการต่อสู้คดีในศาลแรกที่คู่ความได้ฟ้องไว้ ต่อมาเมื่อมีการรวมกลุ่มกันเป็น

สหภาพยุโรปจึงมีความจำเป็นจะต้องสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางกฎหมายที่ใช้ร่วมกันภายในประเทศสมาชิกของสหภาพยุโรป เรียกว่าระบอบบรัสเซลล์ ซึ่งกำหนดเกี่ยวกับเรื่องเขตอำนาจศาลกับการยอมรับและบังคับตามคำพิพากษาต่างประเทศที่จะใช้ร่วมกัน หลักการที่ระบอบบรัสเซลล์เลือกใช้ คือหลักที่ใช้ในกลุ่มของประเทศในระบบ
Civil Law System ที่ยึดหลักว่า หากมีข้อพิพาทที่ประเด็นแห่งคดีเป็นเรื่องเดียวกันและเกิดขึ้นระหว่างคู่ความเดียวกันอยู่ในศาลของประเทศอื่นก่อนแล้ว ศาลที่รับฟ้องคดีไว้ภายหลังจะต้องพักการพิจารณาคดีเป็นการชั่วคราว เพื่อรอฟังว่าศาลที่ได้รับคดีไว้ก่อน จะรับคดีดังกล่าวไว้พิจารณาต่อไปหรือไม่ ถ้าศาลที่รับคดีไว้ก่อนปฏิเสธไม่รับคดีไว้พิจารณา ศาลที่รับคดีนั้นไว้ก็จะมีเขตอำนาจเหนือคดีดังกล่าว แต่ถ้าศาลที่รับคดีไว้ก่อนยอมรับเอาคดีนั้นไว้พิจารณาต่อไปในศาลตนแล้ว ศาลในคดีหลังก็จะต้องจำหน่ายคดีออกจาก สารบบความ เพื่อให้คู่ความไปดำเนินคดีในศาลแรก
หากมีการจะนำประเด็นดังกล่าวนี้มาสร้างขึ้นเป็นข้อตกลงระหว่างประเทศสำหรับใช้ในภูมิภาคอาเซียน ก็จะต้องพิจารณาถึงเรื่องหลักเกณฑ์ร่วมกันในระหว่างประเทศสมาชิกเกี่ยวกับเขตอำนาจศาลที่เป็นสากลในภูมิภาคเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำซ้อนหรือการดำเนินคดีแบบคู่ขนาน ข้อตกลงดังกล่าวจะต้องกำหนดเรื่องสิทธิและหน้าที่ของศาลในประเทศสมาชิกว่ามีหน้าที่จะต้องรับหรือจะต้องปฏิเสธการรับคดีเอาไว้พิจารณา และจะต้องมีการกำหนดเรื่องการให้ยอมรับความตกลงเลือกศาลในสัญญาระหว่างประเทศของแต่ละประเทศให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน

Abstract

Plaintiff in international contractual dispute may enjoy the rights to choose the venue to bring the case to the court of any country in connection with such dispute in according with the law on court jurisdiction of those countries. This circumstance causes risks and uncertainty in international litigation and parallel proceedings and other problems arising out of conflict of jurisdictions.
Before Europe becoming European Union, each country apply their own domestic legal principles to solve such problem. Countries in the Common Law System applied forum non conveniens Principle (FNC). The court will consider the possibility and ability of such court to administer the justice comparing to opportunity of the other court to consider the case. If another court can conduct better trial, for whatsoever reasons, that court will dismiss the case and let the parties to the dispute carry on the trial in that other court.
Meanwhile, the countries in the Civil Law System, contrariwise, applied lis alibi pendens Principle.The court will inquire whether there is the case with the ‘identical course 

of action’ is pending in the other court. If that is the case the latter court will dismiss the case. When EU is officially constituted, the legal infrastructures are required to govern the relationship among EU members—AKA Brussels Regime which prescribed the common principles on court jurisdiction together with recognition and enforcement of foreign judgment. Brussels Regimes choose to apply lis pendens Principle used by the Civil Law System. The court of EU member countries must inquire whether there is the case with the ‘identical course of action’ is pending in the other court or not. If
there is such case with the ‘identical course of action’ is pending in the other court, the court will stay or dismiss the case so that the court first seized will consider the case. If the court first seized declines its jurisdiction, the latter court can continue its trial. If the court first seized decides that she has jurisdiction over the case, the latter court shall permanently dismiss the case.
If ASEAN would like to create international agreement on such issue, we need to include these points in our consideration: international jurisdiction among ASEAN member countries to eliminate parallel proceedings, powers and obligations of the court in each member country, and regional mutual policy in honoring Choice of Court agreement in international contract among members.

Downloads

Published

2018-08-02