การกระทำทางรัฐบาล และปัญหาการตรวจสอบการกระทำ ทางรัฐบาล<br/> Government Act and Problems regarding to Government Act

Authors

  • สุชาดา เรืองแสงทองกุล

Keywords:

การกระทำทางรัฐบาล, ฝ่ายบริหาร, Government Act, Executive Branch

Abstract

การกระทำทางรัฐบาลเป็นผลจากการใช้อำนาจทางรัฐบาล ซึ่งเป็นอำนาจอย่างหนึ่งของอำนาจทางบริหาร การใช้อำนาจทางบริหารของฝ่ายบริหารของไทยมีปัญหาการกำหนดขอบเขตของการกระทำทางรัฐบาล เนื่องจากการขาดความชัดเจนของความหมายและเกณฑ์ที่แน่ชัดในการพิจารณาการกระทำทางรัฐบาล จากการศึกษาพบว่าเกณฑ์ที่ควรนำมาใช้พิจารณาการกระทำทางรัฐบาล มีดังนี้ การกระทำทางรัฐบาลเป็นการใช้อำนาจของฝ่ายบริหาร การใช้อำนาจของฝ่ายบริหารมีแหล่งที่มาตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ และอำนาจที่ใช้กระทำการนี้เป็นอำนาจดุลพินิจของฝ่ายบริหาร

การกระทำทางรัฐบาล แม้จะอยู่ภายใต้หลักการแบ่งแยกอำนาจ แต่ไม่อยู่ภายใต้ตรวจสอบถ่วงดุลขององค์กรตุลาการ เนื่องจากเป็นการกระทำที่อยู่ในอำนาจของฝ่ายบริหารโดยเฉพาะ อย่างไรก็ตามภายใต้การคุ้มครองหลักนิติรัฐจำเป็นต้องมีองค์กรตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐให้เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ สำหรับประเทศไทยได้กำหนดให้มีศาลรัฐธรรมนูญทำหน้าที่ตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ศาลรัฐธรรมนูญจึงมีอำนาจตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของการกระทำทางรัฐบาล โดยตรวจสอบการกระทำทางรัฐบาลได้เท่าที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ และมีข้อจำกัดที่ตรวจสอบการกระทำทางรัฐบาลได้เฉพาะขอบอำนาจที่กระทำการ เงื่อนไขของขั้นตอน กระบวนการใช้อำนาจ ไม่อาจตรวจสอบไปถึงการใช้ดุลพินิจของฝ่ายบริหารอันเป็นอำนาจวินิจฉัยการกระทำในแต่ละเรื่องได้

ABSTRACT

Government Act is the result of government power as part of executive powers. Currently, in Thailand there are problems about the exercise of executive power by the executive branch, especially about the determination of the scope of Government Act due to a lack of its clarity of its meaning and criteria. The study concludes that the criteria of Government Act should be considered in the following ways. Government Act is the authority exercised by the executive branch. The source of power exercised by executive branch must be constitutional and such power is the discretionary power of the executive branch.

Although Government Act under the principle of separation of powers, it is not subject to the review of the judiciary since it is the discretionary power of the executive branch. Under the rule of law, it is necessary to have an organization to review the exercise of state power, especially Government Act in accordance with the provisions of the Constitution. In Thailand, the Constitutional Court has been set up and authorized to review the constitutionality of the Government Act. This thesis provides the following recommendations on the scope of power of the Constitutional Court to review Government Act. The Court should be authorized to review Government Act as only specified in the Constitution. While the Constitutional Court should be entitled to review the processes of Government Act, the discretion of the executive branch should be exempt from the judicial review.

Downloads

Published

2018-04-03