การโอนอำนาจสอบสวนที่มิใช่ภารกิจหลักของสำนักงานตำรวจแห่งชาติไปให้ หน่วยงานราชการอื่น <br/> Transfer of Authority of Investigations Other than the Principal Mission of the Royal Thai Police to Other Government Agencies

Authors

  • สิริมา นองมณี นักศึกษาปริญญาโทตามหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

Keywords:

สอบสวน, สำนักงานตำรวจแห่งชาติ, Investigations, the Royal Thai Police

Abstract

การศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาถึงภารกิจอำนาจหน้าที่ของตำรวจตามหลักสากล 2) เพื่อศึกษาถึงการจัดองค์การในการบริหารงานและการจัดภารกิจสอบสวนของตำรวจในต่างประเทศ 3) เพื่อศึกษาถึงการจัดองค์การในการบริหารงานและการจัดภารกิจสอบสวนของตำรวจในประเทศไทย และ 4) เพื่อศึกษาวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการโอนอำนาจสอบสวนที่มิใช่ภารกิจหลักของสำนักงานตำรวจแห่งชาติไปให้หน่วยงานราชการอื่น
วิธีการศึกษาเป็นการวิจัยเอกสาร (Documentary Research) ด้วยการศึกษาค้นคว้าจากตำรา เอกสารทางวิชาการ กฎหมายรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 พระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมตำรวจ กฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการตำรวจ กฎหมายอาญา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา กฎหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการจัดโครงสร้างส่วนราชการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ บทความ สิ่งพิมพ์ต่างๆ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง จากการศึกษาทำให้ทราบว่าอำนาจหน้าที่ของตำรวจตามมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547 มีอยู่อย่างกว้างขวางไม่ชัดเจน มีภารกิจมากมายที่ต้องปฏิบัติ มีทั้งหน้าที่หลักในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมและรักษาความสงบเรียบร้อยภายในสังคม และยังเข้าไปมีส่วนร่วมเกี่ยวข้องกับกิจกรรมหลักที่สำคัญของรัฐแทบทุกด้านนับตั้งแต่ การจัดเก็บภาษี การศุลกากร การทหาร การสื่อสาร การบิน การศึกษา การพัฒนาชุมชน การสังคมสงเคราะห์ การแพทย์ และการมหรสพ เป็นต้น อันเป็นผลพวงมาจากพัฒนาการของตำรวจในอดีตที่รับการฝากงานจากหน่วยงานราชการอื่นให้ปฏิบัติหน้าที่แทน ดังนั้นลักษณะงานที่มีการกำหนดโทษและเป็นการกระทำความผิดทางอาญาทุกประเภทที่เชื่อมโยงกับเรื่องการสอบสวนจึงได้กลายมาเป็นงานของตำรวจในการดำเนินการเนื่องจากความไม่พร้อมของหน่วยงานราชการเจ้าของเรื่อง จึงก่อให้เกิดปัญหางานล้นมือและเกิดวิกฤตความล่าช้าของงานสอบสวนที่ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพของกระบวนการยุติธรรมดังนั้นจึงควรทำการปรับปรุงขอบเขตอำนาจหน้าที่ในการปฏิบัติภารกิจหลักของตำรวจตามมาตรา6 แห่งพระราชบัญญัติตำรวจแห่งชาติ พ.ศ. 2547 ให้มีความชัดเจน และพิจารณาดำเนินการถ่ายโอนอำนาจสอบสวนที่มิใช่ภารกิจหลักของสำนักงานตำรวจแห่งชาติไปให้หน่วยงานราชการอื่นกลับไปดำเนินการแทน แต่ไม่ตัดอำนาจของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จึงเป็นเรื่องสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างตรงจุดเพราะจะเป็นการพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงานของตำรวจ และเป็นการสร้างความเชี่ยวชาญเฉพาะในการบังคับใช้กฎหมาย อันเป็นการพัฒนาประสิทธิภาพของกระบวนการยุติธรรมได้อย่างเป็นระบบอีกด้วย

ABSTRACT

This study aimed 1) to study the mission's authority of police regarding international standards, 2) to study management and arrangement in investigated mission of police’s organization abroad 3) to study management and arrangement in investigated mission of police’s organization in Thailand and 4) to analyze the feasibility of transferring the authority in noncore investigation from the Royal Thai Police to other government agencies.

The study was a documentary research by studying the textbook, academic papers, Constitutional, National Police Act, 2004, Royal decree divide the police department, Law on Police Officers, Criminal Code, Criminal Procedure Code, Laws relating to the organization of government agencies, the Royal Thai Police, articles of publication and other related researches. From this study, it indicates that the police powers under section 6 of the National Police Act 2004 are too widely and ambiguous. There are many missions to follow. It has either main functions in preventing and suppressing crime or maintaining order in society and it also involved in all major government activities counted tax collection, customs, military, communication, aviation, education, community development, social work, medicine and amusement and so on. This is the result of the past police activities that hand on tasks from one to another government agency. Therefore, the manner in which the punishment is imposed and all types of criminal offenses linked to the investigation have become police’s responsibility that it has to carry out the work due to the lack of readiness of the authorities. The problems of overload and delays in the investigation process affect the effectiveness of the justice system. Thus, the scope of duties of the police should be revised in accordance to Section 6 of the National Police Act, 2004 and the transfer of authority in the non-main task of the Royal Thai Police back to the other government agencies shall be considered. Yet the power of the Royal Thai Police should not be cut off. It is so important and necessary to solve the problem in the right place. Since this will improve the performance of the police and it can create specialized expertise in law enforcement that consequently help in the systematic improvement of the judicial system

Downloads

Published

2018-04-03