หลักสาเหตุใกล้ชิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 877 (2)<br/> Proximate Cause Theory under the Civil and Commercial Code Section 877 (2)

Authors

  • พิชญ์ กลิ่นมาลี นิติศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ. The Master of Laws, Graduate School of Laws, Assumption University.

Keywords:

หลักสาเหตุใกล้ชิด, กรมธรรม์ประกันภัย, ข้อยกเว้นความรับผิด, Proximate Cause, Insurance Policy, Exclusion of Liability

Abstract

บทความทางวิชาการนี้ มีความมุ่งหมายที่จะศึกษาและเสนอแนวทางเรื่องหลักสาเหตุใกล้ชิด โดยวินาศภัยหรือความเสียหายนั้นมักจะเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ ซึ่งลำดับของสาเหตุที่เกิดขึ้นนั้นมีความต่อเนื่องอย่างไม่ขาดตอน นอกจากนี้ การเกิดภัยนั้นจะต้องอยู่นอกการคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัย กล่าวคือ เป็นภัยที่ไม่ได้รับประกันภัยไว้แต่มีสาเหตุใกล้ชิดติดกันอันเนื่องมาจากภัยที่ได้รับประกันภัยไว้ จากการศึกษากฎหมายไทยพบว่าบทบัญญัติในเรื่องนี้ ยังมิได้มีความครอบคลุมอย่างเพียงพอถึงสาเหตุอื่นที่อยู่นอกความคุ้มครองตามกรมธรรม์และได้ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์ซึ่งได้เอาประกันภัยไว้ อันนอกเหนือไปจากการกระทำป้องกันทรัพย์ของผู้เอาประกันภัยเพียงอย่างเดียว ทั้งมิได้มีการบัญญัติข้อยกเว้นความรับผิดของผู้รับประกันภัยตามหลักสาเหตุใกล้ชิด และหน้าที่ของผู้เอาประกันภัยไว้แต่อย่างใด จึงอาจทำให้ผู้เอาประกันภัยจำนวนมากไม่ทราบถึงความหมาย ตลอดจนการพิจารณานำหลักสาเหตุใกล้ชิดมาปรับใช้ตามวัตถุประสงค์อันแท้จริง

ABSTRACT

This academic article aims to study and implement a principle of “Proximate Cause”. A set of proximate cause rules to resolve causation disputes when two or more independent perils operate concurrently in an unbroken the chain of events to produce a loss, and such loss is uncovered by an insurance policy; however, the loss is caused by the peril which is regarded as the proximate cause of the insured peril. The study has found that this doctrine has slightly been established in Thai Laws; little is the loss caused by the uncovered perils protected by the Laws, solely except for an act of the insured’s asset protection. Neither is the principle existed in terms an exclusion of liability of the insurer and the insured’s duties. Accordingly, this may lead to defects in interpretations of the law as well as applications of the principle “Proximate Cause” in conformity with its genuine objective.

Downloads

Published

2018-04-03