กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์และสันติวิธีในศาลจังหวัดชายแดนใต้<br/> Restorative Justice and Peaceful Way of the Court in the Southern

Authors

  • ศิริชัย กุมารจันทร์
  • กรกฎ ทองขะโชค
  • เอกราช สุวรรณรัตน์

Keywords:

กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์, จังหวัดชายแดนภาคใต้, ศาล, Restorative Justice, the Southern Provinces, Court

Abstract

การวิจัยในครั้งนี้ทำการศึกษารูปแบบ ปัญหาอุปสรรค กฎ ระเบียบ ข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทคดีอาญาและคดีแพ่งของต่อการอำนวยความยุติธรรมในศาลจังหวัดชายแดนภาคใต้ ศึกษาจากเอกสารและสัมภาษณ์ผู้พิพากษา เจ้าหน้าฝ่ายปฏิบัติในศาล ประชุมกลุ่มย่อยทนายความ คู่ความในชั้นศาล ผลการศึกษาพบว่า ศูนย์สมานฉันท์และสันติวิธีในจังหวัดชายแดนภาคใต้ปัจจุบันมีการเปลี่ยนชื่อมาเป็น ศูนย์คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพในศาล รูปแบบกระบวนการดังกล่าวจะทำให้จำเลยเข้าใจวิธีการดำเนินคดีมากขึ้น แต่ทั้งนี้ผู้เสียหายและจำเลยส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลามไม่เชื่อมั่นเพราะเห็นว่าเป็นคนของภาครัฐ ดังนั้น ศาลในจังหวัดชายแดนภาคใต้ควรออกระเบียบเฉพาะสำหรับการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพในคดีอาญา มีบุคคลที่คู่ความหรือประชาชนไว้วางใจเข้าร่วมในการกระบวนการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพกับผู้พิพากษา ซึ่งผู้ร่วมในการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพควรให้บุคคลที่ประชาชนยอมรับนับถือ เช่น ผู้นำทางศาสนาและผู้นำชุมชนในพื้นที่ และกระบวนการดังกล่าวนั้นควรเป็นกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ด้วย ทั้งนี้อาจแก้ไขประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาให้อาญาแผ่นดินที่มีอัตราโทษจำคุกไม่เกินสิบปี ที่ไม่ก่อให้เกิความเสียหายอย่างร้ายแรง หากผู้เสียหายไม่ติดใจดำเนินคดี ให้คดีอาญาประเภทนี้ระงับได้ด้วย ส่วนการดำเนินคดีแพ่ง ศูนย์ไกล่เกลี่ยในศาลจังหวัดชายแดนภาคใต้ บุคคลภายนอกที่ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประนีประนอมยังมีจำนวนน้อยมาก บางคดีก็ให้เจ้าหน้าที่ศาลเป็นผู้ประนีประนอม ควรพัฒนาระเบียบคณะกรรมการบริหารศาลยุติธรรมว่าด้วยการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท พ.ศ.2544 คุณสมบัติของผู้ประนีประนอมให้มีความชัดเจน โดยให้มีผู้ประนีประนอมทุกอำเภอในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งคัดเลือกจากบุคคลที่ประชาชนในแต่อำเภอนับถือ ไม่ว่าจะเป็นผู้นำทางศาสนา หรือผู้นำชุมชน และปรับปรุงวิธีการจ่ายค่าป่วยการและค่าใช้จ่ายรายคดี ให้เพิ่มมากขึ้นตามความเหมาะสมกับสภาพทางเศรษฐกิจในปัจจุบัน

ABSTRACT
This research aims to study the models, obstacles, laws, and regulations on mediation in criminal and civil cases exercised by the courts of justice in the Southern Provinces. The research was conducted by reviewing related documents and interviewing the judges of the courts of justice, officers in the courts of justice, focusing group of lawyers in the courts. The results show that even though the name of the Reconciliation and peace center has been changed to the rights and freedom protections center and the form and its process have gained defendants’ understanding on case proceeding, the most of the defendants and the injured persons who are Islamic, are lacking in confidence because the persons who work in the proceeding are government officers. Hence, the courts of justice in the Southern provinces should enact their personal regulation for protecting the rights and the freedom in criminal case. The main point is to have the trusted individuals working with the judges. Those individuals may be the religious leader or community leader. Moreover, restorative justice should also be used in the proceeding. This suggestion leads to the Criminal Procedure Code amendment that in the case of non-compoundable offenses jailing not exceed that 10 years and not damaging badly, if the injured person is not willing to file the case, this case should be ended. In the civil cases, the mediation center in the court of justice in the Southern provinces, there is a less number of the registered individual conciliators. In some cases, the court of justice officers perform as the conciliators. Therefore, it should amend the administrative commission of Court of Justice regulation on Mediation B.E. 2544, especially the qualification of the conciliator. It should mention that there will be the conciliators in each district in the Southern provinces. The conciliators should be selected from widely respectful individuals in the district, whether the religious leader or the community leader. Lastly, the case expenses and its method should be improved accordingly to the current economy.

Downloads

Published

2018-04-03