ปัญหาข้อพิพาททางเศรษฐกิจของอาเซียน: ศึกษาจากกรณีโปรตอน และคดีข้าว-น้ำตาล<br> The Problem of Economic Dispute in ASEAN: Study and Analysis on Proton and Rice and Sugar Cases

Authors

  • ธีรยุทธ ปักษา Teerayut Paksa อาจารย์ประจำ สาขาวิชานิติศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ จังหวัดสงขลา 90000 Full-time Lecturer of Law, Faculty of Law, Thaksin University (Songkla Campus).

Keywords:

อาเซียน, เขตการค้าเสรีอาเซียน, ข้อพิพาท, ASEAN, ASEAN Free Trade Area, Dispute

Abstract

อาเซียนมีการร่วมมือในการจัดความตกลงทางเศรษฐกิจต่างๆมากมายตั้งแต่อดีตจวบจนปัจจุบัน เช่น ความร่วมมือการให้สิทธิประโยชน์ทางการค้าระหว่างกัน (PTA), เขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA), ความตกลงการค้าสินค้าของอาเซียน (ATIGA) รวมถึง ASEAN Plus (ASEAN+) เป็นต้น ซึ่งการดำเนินการให้เป็นไปตามความตกลงต่างๆ ก็ย่อมที่จะเกิดข้อขัดแย้งหรือข้อพิพาทในการบังคับใช้ความตกลงทางเศรษฐกิจขึ้นได้ ซึ่งอาเซียนก็ได้มีการบัญญัติกระบวนการระงับข้อพิพาทเอาไว้บังคับใช้ในกรณีพิพาทหากมีขึ้น โดยที่ประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน (AEM) ได้เห็นชอบลงนามพิธีสารว่าด้วยกลไกการระงับข้อพิพาททางเศรษฐกิจของอาเซียน 2004 เพื่อเป็นกลไกหลักในการระงับข้อพิพาททางเศรษฐกิจระหว่างประเทศสมาชิก ซึ่งนับตั้งแต่พิธีสารฯ 2004 มีผลใช้บังคับเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ปรากฏว่ายังไม่เคยมีข้อพิพาทใดๆ เข้าสู่กระบวนการระงับข้อพิพาทดังกล่าวจึงไม่สามารถที่จะยกตัวอย่างคดีข้อพิพาททางเศรษฐกิจมาศึกษาวิเคราะห์ได้

ดังนั้น ผู้เขียนจึงขอยกกรณีตัวอย่างที่น่าสนใจที่เกิดขึ้นระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนในการดำเนินการตามความตกลงฯต่างๆ ที่ผ่านมา เช่น ความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน ที่มุ่งการเปิดการค้าเสรีระหว่างประเทศสมาชิกและการลดภาษีรวมถึงอุปสรรคที่มิใช่ภาษี ซึ่งได้เกิดปัญหาเกี่ยวกับการดำเนินการในการลดอัตราภาษีให้บรรลุตามเป้าหมายที่ได้ตกลงกันไว้ ได้แก่ กรณีตัวอย่างรถยนต์โปรตอน (Proton) และกรณีตัวอย่างเกี่ยวกับข้าวและน้ำตาล (Sugar and Rice) เพื่อจะได้เห็นถึงแนวทางในการแก้ไขปัญหาหรือพยายามหาทางออกในการระงับข้อพิพาทระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน

One of the main objectives to establish ASEAN is to enhance economic cooperation. Until the present time, ASEAN concludes several trade agreements namely Preferential Trading Arrangements (PTA), ASEAN Free Trade Area (AFTA), ASEAN Trade In Goods Agreement (ATIGA) and ASEAN Plus with another country. In order to comply with such agreements, dispute settlement is a method to enforce the terms. In terms of dispute settlement, ASEAN enacted that dispute procedure in the meeting which was held by ASEAN Economic Ministers (AEM). During the meeting in 2004, there was an approval to sign a protocol on ASEAN Enhanced Dispute Settlement Mechanism in order to be the main dispute Mechanism of ASEAN. However, since 2004 there has no country having used this mechanism yet.

In this article, the author intends to study some interesting cases such as Proton case and Sugar and Rice case through ASEAN Free Trade Area. It can be said that Such Free Trade Agreement aim to create free trade area among ASEAN Member States and to increase ASEAN’s competitive edge as a production base in the world market through the elimination, within ASEAN, of tariffs and non-tariff barriers. The rationale behind of studying these two cases is to find a suitable solution regarding dispute settlement of ASEAN Member states.

Downloads

Published

2018-01-05