ข้อสังเกตเกี่ยวกับการเยียวยาชาวอเมริกันเชื้อสายญี่ปุ่นที่ถูกกักกัน ระหว่างช่วงสงครามโลกครั้งที่สองในประเทศสหรัฐอเมริกา <br> Remarks on Reparations for the Victims of Japanese American Internment during the Second World War in the United States

Authors

  • ประภาภรณ์ โรจน์ศิริรัตน์ Prapaporn Rojsiriruch อาจารย์ประจาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ น.บ. มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ; น.บ.ท.; LL.M. Fordham University; LL.M. Suffolk University, USA. Full-time Lecturer, AU School of Law, LL.B (Assumption University); Thai Barrister-at-law; LL.M. Fordham University; LL.M. Suffolk University, USA.

Keywords:

การละเมิดสิทธิมนุษยชน, การเยียวยา, การเยียวยาชาวอเมริกันเชื้อสายญี่ปุ่นที่ถูกกักกันระหว่างช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง, สิทธิในการได้รับการเยียวยา, หลักเกณฑ์การเยียวยา, Human Rights Violations, Remedy, The Japanese American Internment, Right to Reparations

Abstract

สิทธิในการได้รับการเยียวยาชดใช้ความเสียหายนั้นนับเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของเหยื่อผู้ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยหลักการแล้วจะเห็นได้ว่าวัตถุประสงค์หลักของการเยียวยาชดใช้ความเสียหายแก่เหยื่อผู้ถูกสิทธิมนุษยชนนั้นคือเพื่อทำให้เหยื่อผู้ที่ได้รับความเสียหายกลับคืนสู่ฐานะเดิมก่อนมีการละเมิดสิทธิมนุษยชน สาหรับเหยื่อนั้นการเยียวยาชดใช้ความเสียหายประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญสามประการ กล่าวคือ ความรับรู้ถึงความเจ็บปวด การเยียวยาความเสียหาย และการมีส่วนร่วมของผู้ที่มีความรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้น รวมทั้งความพยายามของรัฐในการแก้ไขสิ่งที่ผิดพลาดในอดีต

การสร้างหลักเกณฑ์การเยียวยาชดใช้ความเสียหายโดยฝ่ายบริหารที่ดีนั้นหาใช่เพียงการชดใช้ด้วยจำนวนเงินเพียงประการเดียว หรือการคัดลอกหลักเกณฑ์การเยียวยาชดใช้ความเสียหายและประสบการณ์การเยียวยาชดใช้ความเสียหายจากการละเมิดสิทธิมนุษยชนของประเทศอื่น การออกแบบหลักเกณฑ์การเยียวยาที่ดีจึงไม่มีรูปแบบที่ตายตัว หากแต่เป็นการเยียวยาชดใช้ความเสียหายที่คำนึงถึงความรู้สึกของเหยื่อผู้ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนเป็นหลัก และรูปแบบการเยียวยาชดใช้ความเสียหายนั้นต้องสามารถบรรเทาความเสียหายที่เกิดขึ้นในแง่ของประโยชน์ที่เป็นรูปธรรมและประโยชน์เชิงสัญลักษณ์ ทั้งนี้เพื่อบรรเทาความเสียหายของเหยื่อและบรรเทาความขัดแย้ง รวมทั้งสร้างความปรองดองระหว่างผู้กระทำละเมิดและเหยื่อผู้ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชน

วัตถุประสงค์ของบทความฉบับนี้นั้นเป็นการยกตัวอย่างการเยียวยาผ่านหลักเกณฑ์การเยียวยาที่มีเหยื่อเป็นศูนย์กลาง (Victim-Oriented Reparation Program) กล่าวคือ การเยียวยาชาวอเมริกันเชื้อสายญี่ปุ่นที่ถูกกักกันระหว่างช่วงสงครามโลกครั้งที่สองในสหรัฐอเมริกา ซึ่งหลักเกณฑ์การเยียวยาชาวอเมริกันเชื้อสายญี่ปุ่นที่ถูกกักกันระหว่างช่วงสงครามโลกครั้งที่สองในสหรัฐอเมริกานั้นเกิดขึ้นจากการเคลื่อนไหวเรียกร้องของเหยื่อที่ถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนโดยตรงจากเหตุการณ์ดังกล่าวเป็นเวลานาน จนท้ายที่สุดได้มาซึ่งหลักเกณฑ์ที่เหยื่อพึงพอใจ โดยหลักเกณฑ์นั้นประกอบไปด้วยการเยียวยาในรูปแบบที่เป็นตัวเงิน (Monetary Form of Reparations) คือการจ่ายเงินเยียวยาแก่เหยื่อผู้ถูกกักกันที่รอดชีวิตจานวน 20,000 ดอลลาร์สหรัฐ และการเยียวยาในรูปแบบอื่นซึ่งมิใช่ตัวเงิน (Non-Monetary Form of Reparations) คือ การกล่าวคำขอโทษอย่างเป็นทางการ นอกจากนี้การเยียวยาชาวอเมริกันเชื้อสายญี่ปุ่นที่ถูกกักกันระหว่างช่วงสงครามโลกครั้งที่สองในสหรัฐอเมริกายังก่อให้เกิดบทเรียนแก่สังคมโดยรวมในการตระหนักถึงความผิดพลาดในอดีตเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการกระทำความผิดพลาดซ้าอีกในอนาคตอีกด้วย

“Right to Reparations” is considered as a fundamental right that belongs to the victims whose human rights had been violated. The ultimate purpose of reparations is to repair the damage that the injured victims have suffered. For victims, reparations include three important elements which are the acknowledgement of suffering, the remedy harm, and the participation of those who are responsible for the harm, including the state to show the effort to right the wrong.

Reparation programs which are approved by the administrative branch are not one-size-fit-all because the victims’ rights that were abused in each incident are different. A failed reparation program may result when efforts and experiences that are gathered from other countries unknowingly constituted some of the failed examples of reparation program and a country may include it into its own reparation criteria without keeping in mind that the context and individualisms of every country is different and that every conflict event of violence is different too. Designing a well-crafted reparation program is complex and requires time in order to resolve the conflict of violence which might eventually lead the country toward reconciliation to the extent that it could prevent and end the cycle of human rights violations committed by the State. In addition, victim’s feelings cannot be neglected, because how they feel about the damage or whether they feel that the reparation they received is appropriate and just to them are very important to create a successful reparation program.

The purpose of this article is to provide an example of a victim-oriented reparation program which is caused by the people’ movement. The Japanese American Internment Reparation is considered as one of the examples which could show that although designing a victim-oriented reparation program is not an easy task, but if the task is successfully done, it is deemed as a crucial factor which leads to a reconciliation between the perpetrators and the victims. The Japanese American Internment Reparation consisted of both monetary form of reparation, which is a lump sum amount of 20,000 USD, and a symbolic form of reparation, which is a formal apology by the US President. Moreover, the contents of the government’s apology reflect the sincerity of the government to the victims who suffered the past injustice. The program also demonstrated that the government attempted to restore the victims’ dignity and promise not to repeat the same mistake in the future.

Downloads

Published

2018-01-05