ปัจจัยที่ต้องพิจารณาในการกำหนดมาตรการส่งเสริมการลงทุน ของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในต่างประเทศ <br>Factors to Consider in Setting Measures for the Promotion of Small and Medium Enterprises’ Investment in Oversea Countries

Authors

  • ชนิสา งามอภิชน Chanisa Ngamapichon อาจารย์ประจำ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, น.บ. (เกียรตินิยม) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, น.บ.ท., LL.M. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, LL.M. University of King’s College London, LL.M. La Trobe University. Full-time Lecturer, Faculty of Law, Chulalongkorn University, LL.B. (Hons) Chulalongkorn University, Thai Barrister-at-law, LL.M. Chulalongkorn University, LL.M. University of King’s College London, LL.M. La Trobe University.

Keywords:

วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม, การลงทุนทางตรงในต่างประเทศ, มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการลงทุนทางตรงในต่างประเทศ, Small-Medium Enterprises, Foreign Direct Investment (FDI), and Legal Measures on FDI

Abstract

จากการพิจารณาถึงการออกไปลงทุนโดยตรงในต่างประเทศ (Outward Foreign Direct Investment – OFDI) จากประเทศไทย พบว่าเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศในกลุ่มอาเซียนด้วยกัน ประเทศไทยยังมีอัตราการลงทุนโดยตรงในตางประเทศที่ต่ำกว่าประเทศอื่นๆ โดยเฉพาะประเทศในกลุ่มอาเซียน เช่น ประเทศสิงคโปร์และประเทศมาเลเซีย ซึ่งหนึ่งในเหตุผลหลักของอัตราการลงทุนที่ต่ำ คือ มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการส่งเสริมการลงทุนของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทยในต่างประเทศยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอที่จะสนับสนุนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมให้มีความพร้อมออกไปลงทุนในต่างประเทศ ดังนั้นจึงสมควรต้องมีการแก้ไขและเพิ่มเติมมาตรการทางกฎหมายให้เหมาะสมเพียงพอ ทั้งนี้เพื่อเพิ่มจำนวนของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของไทยที่ สามารถไปลงทุนทางตรงในต่างประเทศได้ และเพื่อให้การลงทุนของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของไทยในต่างประเทศมีศักยภาพในการแข่งขันกับธุรกิจของประเทศต่างๆ อีกทั้งเพื่อสนับสนุนให้การดำเนินกิจการในต่างประเทศเป็นไปได้อย่างราบรื่นและสามารถเติบโตอย่างยั่งยืนต่อไป หากผลลัพธ์ที่ต้องการ คือ การมีมาตรการส่งเสริมการลงทุนของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในต่างประเทศที่มีประสิทธิภาพ สิ่งสำคัญที่ต้องพิจารณา คือ ปัจจัยที่เหมาะสมในการกำหนดมาตรการส่งเสริมการลงทุนของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในต่างประเทศ ทั้งนี้เพื่อเป็นกรอบและทิศทางในกำหนดมาตรการในเรื่องดังกล่าวต่อไป จากการศึกษาพบว่าสามารถแบ่งปัจจัยในเรื่องดังกล่าวได้เป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนแรกคือปัจจัยในส่วนนักลงทุน ซึ่งหมายถึงวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมผู้รับการส่งเสริมการลงทุน ในส่วนนี้จะแบ่งเป็น 5 เรื่องหลัก ได้แก่ 1) ความสำคัญของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม 2) สภาพการณ์ของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทยในปัจจุบัน 3) อุปสรรคสำคัญต่อการลงทุนโดยตรงในต่างประเทศของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทยในปัจจุบัน 4) ประเภทของธุรกิจที่จะออกไปลงทุนทางตรงในต่างประเทศ และ 5) ประเทศที่เป็นผู้รับการลงทุน และส่วนที่สองคือปัจจัยในส่วนภาครัฐ ซึ่งมีบทบาทหน้าที่ในการกำหนดมาตรการช่วยเหลือและส่งเสริมในเรื่องดังกล่าว แบ่งได้เป็น 4 เรื่องหลักๆ ได้แก่ 1) หลักความเสมอภาค 2) หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 3) ปัญหาที่เกิดจากหน่วยงานของรัฐที่ส่งผลให้การส่งเสริมการลงทุนทางตรงของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทยในต่างประเทศในปัจจุบันไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร และ 4) โครงสร้างพื้นฐานเพื่อการสนับสนุนการลงทุนทางตรงระหว่างประเทศของไทยในการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในการลงทุนทางตรงในต่างประเทศ ดังรายละเอียดที่จะกล่าวต่อไป

Considering the situation of Outward Foreign Direct Investment (OFDI) in Thailand, it has been found that Thailand has the lower rate of OFDI of small and medium enterprises (SMEs) comparing to other ASEAN countries e.g. Singapore and Malaysia. One of the main reasons of this situation is that the lack of efficiency of legal measures relating to the supporting and promoting OFDI of Thai SMEs. In addition, there is the problem of enforcement of existing legal measures. This problem leads to the lack of unity and efficiency of the enforcement of existing legal measures. It can be suggested that existing legal measures relating to OFDI of Thai SMEs need to be reconsidered and amended in order to increase the competitiveness of Thai businesses in OFDI channel and to bring about the efficiency of supporting and encouraging the investment of Thai SMEs in foreign countries and also to increase the numbers of Thai businesses which are capable of expanding their business outside the home country. When Thai small and medium enterprises in foreign countries grow steadily and firmly, it would be beneficial for the trade balance and the pulling of money into the country, which can be the factor that makes the Thai economy be strong and stable; and grow sustainably. In conclusion, this is one of the factors to empower economic of Thailand. In order to have appropriate and effective measures to promote the investment of SMEs in foreign countries, it is important to consider the appropriate factors for setting up measures to promote small and medium enterprises in foreign countries as a framework and a direction for issuing proper measures. This article will divided factors into two categories which are investors factors and government factors.

Downloads

Published

2018-01-05