การใช้หลัก forum non conveniens แก้ปัญหา การขัดกันของเขตอำนาจศาลในสกุลกฎหมาย <br>Common Law Application of forum non conveniens Principle in Conflict of Jurisdictions by the Court in the Common Law

Authors

  • อาทิตย์ ปิ่นปัก Artit Pinpak อาจารย์ประจา บัณฑิตศึกษา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ, นิติศาสตรบัณฑิต (มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ), นิติศาสตรมหาบัณฑิต (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย), the Master of Laws (the University College London, the UK) Full-time Lecturer of Graduate Studies, AU School of Law, LL.B. (Assumption University), LL.M. (Chulalongkorn University), the Master of Laws (the University College London, the UK)

Keywords:

การขัดกันของเขตอำนาจ(ศาล), ประเทศที่ตั้งศาลมีความไม่สะดวก, ระบบกฎหมายจารีตประเพณี, ศาลอังกฤษ, ศาลสหรัฐอเมริกา, Conflict of Jurisdictions, forum non conveniens, Common Law System, the UK Court, the US Court

Abstract

เมื่อประสบปัญหาการขัดกันของเขตอานาจศาล สหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นประเทศในสกุลกฎหมาย Common Law ได้ใช้หลัก forum non conveniens ในการแก้ปัญหาที่นิติสัมพันธ์อันใดอันหนึ่งสามารถตกอยู่ภายใต้เขตอานาจรัฐของหลายประเทศ โดยมีหลักการที่สาคัญคือ ตัวชี้วัดความสะดวกและเหมาะสมในการพิจารณาคดีของศาลเป็นสาคัญ โดยศาลที่ได้รับคดีนั้นไว้อยู่จะเป็นผู้พิจารณาถึงความเหมาะสมดังกล่าว เพราะปัญหาการขัดกันของเขตอำนาจศาลอาจทำให้เกิดปัญหาสิ้นเปลืองทรัพยากรในกระบวนการยุติธรรม การดำเนินคดีซ้ำซ้อน การดำเนินคดีในศาลที่ไม่เหมาะสม และการขัดกันของผลแห่งคำพิพากษา เป็นอาทิ

ในเรื่องดังกล่าว ศาลของสหราชอาณาจักรใช้มาตรฐานการพิสูจน์ให้ศาลเชื่อว่าศาลอื่นเป็นศาลที่มีเขตอำนาจเหนือคดีและเป็นศาลที่มีความเหมาะสมมากกว่าเมื่อพิจารณาถึงส่วนได้เสียของคู่ความทุกฝ่าย ส่วนศาลของสหรัฐอเมริกาใช้หลักที่ว่าศาลจะจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ หากศาลที่พิจารณาคดีอยู่นั้นเป็นสถานที่ที่ไม่สะดวกอย่างยิ่งและมีศาลอื่นที่เป็นทางเลือกที่ดีกว่าให้ดำเนินคดีนั้นได้อยู่ ศาลสหรัฐฯ ได้แบ่งข้อพิจารณาเป็นสองส่วนหลักๆ คือ ก) ข้อพิจารณาเกี่ยวกับตัวคู่ความ เช่น การเข้าถึงการพิสูจน์พยานหลักฐานในคดี ค่าใช้จ่ายของตัวความหรือพยาน และ ข) ข้อพิจารณาเพื่อประโยชน์สาธารณะ เช่น การบังคับตามคำพิพากษา และปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย

บทความนี้แบ่งออกเป็นสามส่วน โดยส่วนแรกจะกล่าวถึงนิยามและสภาพปัญหาของการขัดกันของเขตอำนาจศาล (Conflict of Court Jurisdiction) ในทางระหว่างประเทศว่ามีลักษณะอย่างไร และก่อให้เกิดข้อขัดข้องในการระงับข้อพิพาทอย่างไร ส่วนที่สองจะกล่าวถึงต้นกำเนิด ที่มาและพัฒนาการของทฤษฎี forum non conveniens (FNC) ตลอดจนการใช้หลักเกณฑ์ดังกล่าวแก้ไขปัญหาการขัดกันของเขตอำนาจศาลในสหราชอาณาจักรโดยเฉพาะอย่างยิ่งในคำพิพากษาของศาลของประเทศอังกฤษ และในส่วนที่สามจะกล่าวถึงการใช้ทฤษฎี forum non conveniens แก้ไขปัญหาการขัดกันของเขตอำนาจศาลในสหรัฐอเมริกาโดยดูจากคำพิพากษาทั้งในระดับ Circuit Court และคำพิพากษาของ US Supreme Court

The problems of Conflict of Jurisdictions bring about several negative consequences e.g. parallel proceeding, wasting of judicial resources or even conflict of judgements. When the problems of Conflict of Jurisdictions arises, the countries in the Common Law Legal System, i.e. the United Kingdom and the United States, will apply forum non conveniens principle to solve such problems.

The UK court will consider mainly on convenience and suitability of trial in English court, fairness, and the benefit of justice for all parties. The US court will consider whether there is any other court which is more appropriate to try the case other than that US court. Furthermore, US court considers two main area, namely private public interest factors and public interest factors, i.e. convenience of parties and witnesses, expenses, enforcement of judgement and the public policy.

Downloads

Published

2018-01-05