การจัดเก็บภาษีมลพิษจากรถยนต์ที่ใช้ในการขนส่ง <br>Tax Collection on Emission of Transportation Vehicles

Authors

  • กนกกาญจน์ กาญจนประดิษฐ์ Kanokkarn Kanjanapradith นักศึกษาหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขากฎหมายธุรกิจ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ปีการศึกษา 2558. Student, Master of Laws in Business Law (International Program), Assumption University, Class 2015.

Keywords:

การเก็บภาษี, มลพิษจากควันไอเสียรถยนต์ที่ใช้ในการขนส่ง, ผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย, Tax, collection, polluting emission of transportation vehicle, Polluter Pays Principle

Abstract

รถยนต์เป็นแหล่งกาเนิดมลพิษที่สาคัญมาก เพราะเมื่อจานวนประชากรเพิ่มมากขึ้นความต้องการใช้รถยนต์เพื่อการเดินทาง การขนส่ง การสร้างงาน การสร้างอาชีพ และความสะดวกสบายย่อมขยายตัวขึ้น ส่งผลให้ปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากท่อไอเสียรถยนต์นั้นมีปริมาณมากขึ้นตามไปด้วย ซึ่งก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์นี้เป็นตัวการที่จะนาไปสู่สาเหตุของสภาวะเรือนกระจก อันเป็นปัญหาที่มีผลกระทบต่อประชากรทั่วโลกทั้งในปัจจุบันและสืบต่อไปยังอนาคต ในปัจจุบันประเทศไทยได้เริ่มตระหนักถึงปัญหาดังกล่าวโดยเข้าร่วมเป็นภาคีในอนุสัญญาปารีส เพื่อที่ลดปัญหาจากการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลงโดยร่วมมือกับประเทศสมาชิกต่าง ๆ ทั่วโลก

งานวิจัยนี้ แสดงว่ากฎหมายของประเทศไทยในปัจจุบันที่ใช้บังคับในเรื่องการจัดการเกี่ยวกับการเก็บภาษีมลพิษจากรถยนต์ที่ใช้ในการขนส่งนั้นยังมีข้อบกพร่องอยู่หลายประการ ทั้งยังไม่มีการตรากฎหมายเพื่อจัดการกับเรื่องดังกล่าวโดยเฉพาะ ผู้เขียนจึงเสนอแนวความคิดที่จะตรากฎหมายเพื่อใช้ในการจัดการกับปัญหาดังกล่าวเป็นการเฉพาะโดยการนาวิธีคิดทางเศรษฐศาสตร์ที่ว่า ผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย ซึ่งเป็นมาตรการที่จะทาให้ผู้ก่อมลพิษมีส่วนร่วมรับผิดชอบในค่าใช้จ่ายในการจัดการและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ผู้ก่อมลพิษช่วยลดการก่อมลพิษลง

Cars are the most important sources of air pollution. As increase of population leads to human needs, cars are used for transportation, to increase of jobs and opportunity for occupation and convenience. As a consequence, increasing the source of Carbon Monoxide, the result of human behavior in using car, which is main course leading to greenhouse effect now and in the future. Nowadays, many countries including Thailand have realized about and thereby have joined the Paris convention which has an objective to control and reduce temperature in member countries.

This thesis shows that Thailand has weakness on air pollution law and lack laws to manage pollution problems. Thus, the author proposes to apply environment tax which shall collect tax on emission from transporting vehicles to reinforce other legal measures to make them more effective. By apply the environmental economic concept of the Polluter Pays Principle. This measure shall tackle the cost of pollution management. Moreover this new taxation shall increase the revenue of the government and create incentive for consumers to reduce the emission of exhaustion gases.

Downloads

Published

2018-01-05