ASEAN Dispute Settlement Mechanism: a Study of its Ineffectiveness in Resolving Economic Disputes <br> กลไกการระงับข้อพิพาทของอาเซียน : ศึกษากรณีความไร้ประสิทธิภาพ ในการระงับข้อพิพาททางเศรษฐกิจ

Authors

  • Natthada Termudomchai

Keywords:

ASEAN Dispute Settlement Mechanism, ASEAN economic disputes, การระงับข้อพิพาททางเศรษฐกิจของอาเซียน, ข้อพิพาททางเศรษฐกิจของอาเซียน

Abstract

ABSTRACT

By the official opening of ASEAN Economic Community (AEC) in 2015, it will bring a tremendous impact on transnational business operations. There will be many of business transactions arise which might lead many conflicts across different countries. The ASEAN integration and mutual comprehension through law project are essential. It is necessary for the ASEAN members to remove uncertainty and create more formal ASEAN Dispute Settlement Mechanism (DSM). Due to the increase of economic disputes, ASEAN acknowledged the necessity to establish the dispute settlement agreement which covered to the economic disputes by giving a consistency of procedure, predictable of outcomes, precise adoption of the ruling, and the sanctions of non-compliance to the rulings.
This paper will focus on the main legal framework of the 2004 Protocol for Enhanced Dispute Settlement Mechanism (EDSM) or known as the Vientiane Protocol and Protocol to the ASEAN Charter Dispute Settlement Mechanism in 2010 (PDSM). The ASEAN DSM has been formed for more than 10 years, but the systems have never been utilizing the process. Thus, it can imply that the mechanisms may contain some problems and weaknesses.

บทคัดย่อ

ในปัจจุบันนั้นประเทศสมาชิกอาเซียนกำลังเดินหน้าเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015) ซึ่งเป็นการสนับสนุนการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศสมาชิก แต่ในทางกลับกันนั้นโอกาสทางเศรษฐกิจอาจมีการแปรเปลี่ยนเป็นข้อพิพาททางเศรษฐกิจระหว่างประเทศสมาชิกได้ ถึงแม้ว่าอาเซียนจะได้มีบทบัญญัติที่กำหนดถึงวิธีการระงับข้อพิพาทด้านเศรษฐกิจโดยสันติวิธีไว้โดยเฉพาะใน “พิธีสารว่าด้วยกลไกระงับข้อพิพาทของอาเซียน (ASEAN Protocol on Enhanced Dispute Settlement Mechanism – EDSM )” ซึ่งใช้กลไกการระงับ ข้อพิพาทของ องค์การการค้าโลก (WTO) เป็นต้นแบบนั้น โดยบทบัญญัติดังกล่าวได้มีขึ้นมาเกือบระยะเวลาสิบปี แต่ตราบจนกระทั่งบัดนี้ก็ยังไม่เคยมีประเทศสมาชิกคู่พิพาท ใดเลือกใช้กระบวนการระงับข้อพิพาทตามพิธีสารฯ ดังกล่าวเลย ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะทำการศึกษาถึงจุดอ่อนของบทบัญญัติดังกล่าว ซึ่งนำไปสู่บทสรุปและข้อเสนอแนะของผู้วิจัยและสามารถใช้เป็นแนวทางในการวางแผนนโยบายรัฐและมุ่งพัฒนากฎหมายภายในของประเทศสมาชิกให้สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนต่อไป

Downloads

Published

2017-03-18