ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการประกันภัยพิบัติ17 <br>Legal Problems of Catastrophe Insurance

Authors

  • กรกมล พุทธซ้อน นิติศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ

Keywords:

กองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติ, ภัยพิบัติ, ค่าสินไหมทดแทน, กรมธรรม์ประกันภัย, The National Flood Insurance Program (NFIP), Standard Flood Insurance Policy, Federal Emergency Management Agency (FEMA), Catastrophe

Abstract

บทคัดย่อ

ภัยพิบัติแต่ละครั้งไม่ว่าจะเกิดจากแผ่นดินไหว อัคคีภัย อุทกภัย หรือสึนามิ ล้วนสามารถสร้างความเสียหายต่อชีวิต ทรัพย์สิน สังคมและเศรษฐกิจกับพื้นที่ที่เกิดเหตุการณ์นั้นขึ้น กรณีประเทศไทยจากเหตุการณ์อุทกภัยเมื่อปี พ.ศ. 2554 นอกจากเกิดความเสียหายในด้านต่าง ๆ ดังกล่าวแล้ว ยังพบว่าได้ส่งผลกระทบต่อธุรกิจประกันวินาศภัยเป็นอย่างมากเช่นกัน จึงได้มีการตราพระราชกำหนดกองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติ พ.ศ. 2555 เพื่อให้มีการจัดตั้งกองทุนส่งเสริมการประกันภัยพิบัติขึ้น โดยทำหน้าที่บริหารความเสี่ยงโดยการรับประกันภัยและทำประกันภัยต่อ ตลอดจนให้ความช่วยเหลือทางด้านการเงินแก่ผู้ประกอบธุรกิจประกันวินาศภัย เป็นต้น แต่ยังคงพบปัญหาบางประการที่ควรนำมาพิจารณา ด้วยเหตุนี้ วิทยานิพนธ์นี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาที่เกิดจากการประกันภัยพิบัติ ทั้งนี้เพื่อศึกษาแนวความคิด หลักการและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกันภัยภัยพิบัติในประเทศไทยรวมทั้งแนวคิด และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกันภัยพิบัติในต่างประเทศ ซึ่งจากการศึกษาเปรียบเทียบกับกฎหมายของต่างประเทศพบว่า ในประเทศญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกานับเป็นประเทศที่เผชิญกับภัยพิบัติอยู่บ่อยครั้ง เช่นแผ่นดินไหว อุทกภัย โดยลำดับ จึงได้จัดหามาตรการทางกฎหมายในการแก้ไขปัญหาและบรรเทาความเดือดร้อนด้วยวิธีการ ประกันภัย ประกอบกับมีแนวทางด้านกฎหมายในการช่วยลดความเสียหายจากภัยพิบัติซึ่งนำมาใช้ควบคู่กับการรับประกันภัย ดังนั้น การศึกษานี้จึงมุ่งเสนอแนะให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกันภัยพิบัติ เพื่อให้การประกันภัยมีส่วนช่วยบรรเทาความเสียหายได้อย่างเหมาะสมยิ่งขึ้น

ASTRACT

Disasters, such as earthquake, fire, flood or tsunami, can cause damage to life, property, society and economy in that area. Huge flood in Thailand in 2011 effected not only the said aspects but also the business of loss insurance. So, the National Catastrophe Insurance Fund (NCIF) has been established by the NCIF Act B.E. 2555 to manage the risk by insuring, reinsuring and giving financial support to the loss insurers. This thesis aims to study the related problems occurred, including the concepts, principles. The author has found that in Japan and the USA, where there are a lot of disasters having legal measures to give relief by insuring and other measures to lessen the impact of loss. This thesis also recommend the amendment of the law on catastrophic loss insurance to ensure that insurance shall lead to better lessening of impacts.

Downloads

Published

2017-03-18