มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค ในกรณีถูกส่งข้อความสั้นรบกวนทางโทรศัพท์เคลื่อนที่

Authors

  • วิลาสินี เต็งไตรรัตน์ นิติศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ, ประกอบธุรกิจส่วนตัว

Keywords:

การบริการส่งข้อความสั้น, ข้อความอันไม่เป็นประโยชน์, ข้อความสั้นทางโทรศัพท์เคลื่อนที่, ข้อความอิเล็กทรอนิกส์, SMS, Useless Message, Mobile Short Message, Electronic Message

Abstract

Legal  Measures  to  Protect  Consumer  in  the  Receival  of  Short  Message  Transmission  through  Cellular  Telephone

บทคัดย่อ

การส่งข้อความสั้นทางโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นวิธีหนึ่งที่ได้รับความนิยมสูงจากผู้ประกอบกิจการในปัจจุบัน เพื่อใช้ในการประชาสัมพันธ์ การโฆษณาขายสินค้า และบริการต่างๆ เพราะมีความสะดวก รวดเร็ว เสียค่าใช้จ่ายต่ำ ตลอดจนเข้าถึงตัวผู้บริโภคได้โดยตรง โดยระบบการทำงานของการส่งข้อความสั้นทางโทรศัพท์เคลื่อนที่นั้นเป็นเทคนิคการสื่อสารทางข้อความโดยไม่ได้ใช้การสร้างวงจรการสื่อสารสำหรับสนทนา คือในขณะที่สนทนา การรับและส่งข้อความสั้นยังทำได้ตลอด แม้กระทั่งผู้รับปิดเครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่ ผู้ส่งก็สามารถส่งข้อความสั้นได้ เมื่อผู้รับเปิดเครื่องโทรศัพท์เคลื่อนที่ก็จะได้รับข้อความสั้นนั้นทันที จึงทำให้เกิดปัญหาคือผู้บริโภคถูกเอาเปรียบและถูกรบกวนจากการส่งข้อความสั้นทางโทรศัพท์เคลื่อนที่ในแง่ความเป็นอยู่ส่วนตัว และสิทธิตามกฎหมาย บทความนี้จึงมุ่งศึกษาถึงแนวทางในการคุ้มครองผู้บริโภคเมื่อได้รับข้อความสั้นรบกวนทางโทรศัพท์เคลื่อนที่ เพื่อเสนอแนวปฏิบัติในการคุ้มครองผู้บริโภค

บทความนี้แสดงถึงมาตรการคุ้มครองผู้บริโภคในกรณีมีข้อความสั้นรบกวนทางโทรศัพท์เคลื่อนที่ในบางประเทศ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และออสเตรเลีย พบว่าทั้งสามประเทศเห็นว่าการส่งข้อความสั้นทางโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นปัญหาสำคัญที่รัฐควรให้ความคุ้มครองแก่ประชาชนในประเทศ มีมาตรการทางกฎหมายกำหนดให้การส่งข้อความสั้นทางโทรศัพท์เคลื่อนที่ถูกควบคุมโดยโดยกฎหมายเฉพาะ และจัดให้มีองค์กรและคณะกรรมการด้านการกำกับดูแลการติดต่อสื่อสารโดยเฉพาะอีกด้วย

บทความนี้ได้เสนอแนะให้มีมาตรการทางกฎหมายเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคในกรณีถูกส่งข้อความสั้นรบกวนทางโทรศัพท์เคลื่อนที่ คือให้มีการบัญญัติกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เป็นกฎหมายกลางเพื่อเป็นการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในทุกประเภท เนื่องจากหมายเลขโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นข้อมูลส่วนบุคคลชนิดหนึ่ง ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยได้มีการจัดทำ ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล  พ.ศ. ....  แล้ว  ดังนั้น จึงควรจะเร่งให้มีการประกาศใช้กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลโดยเร็ว และให้กสทช. ใช้อำนาจแห่งพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 มาตรา 27 (13) (24) ประกอบกับ มาตรา 31 วรรค 2 เพื่อออกคำสั่งห้ามไม่ให้มีการส่งข้อความสั้นรบกวนไปยังผู้บริโภคหากไม่ได้รับการยินยอมไว้ก่อน เว้นแต่เป็นข้อความที่เป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคเอง หรือเป็นข้อความที่ผู้ส่งข้อความสั้นจะได้รับประโยชน์ที่ตนควรได้รับตามกฎหมาย ยกตัวอย่างเช่น ข้อความแจ้งยอดชำระค่าบริการ และการทวงหนี้กู้ยืม เป็นต้น

ABSTRACT

 

Sending SMS to personal mobile phone is widely used by business in doing PR, and advertising of products and services because the cost is low and the SMS accedes the consumer directly. SMS does not require two way communication, so they can be sent anytime. Once the phone is turned on, the SMS can be reached. This is a disturbance to the consumers, privacy rights. This article aims to protect consumers from unexpected SMS.

        This article shows the law on protection of consumer’s rights in several countries i.e. the US, the UK, Australia. There are specific legal measures to control sending of SMS. There must be specific law and organization to look after this issue.

        This article recommends the protective measures to protect the consumers in case of being disturbed by SMS. This article suggest that the personal data protection law to protect all kinds of personal data including mobile phone number should be in place. Now, Thailand has the draft of Personal Data Protection Act B.E. …. . This bill should be passed soon. The National Broadcasting and Telecommunications Commission should issue a regulation to prohibit sending SMS to disturb consumers without their consent, except the SMS that is beneficial to consumers such as billing information or due debt notification


Downloads

Published

2016-09-13