การลงประชามติที่ริเริ่มโดยประชาชน

Authors

  • ชมพูนุท ตั้งถาวร นักวิชาการขึ้นตรงต่อเลขาธิการ ปฏิบัติงานสำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า.

Keywords:

ประชามติ, ประชาธิปไตยแบบมีตัวแทน, เจตนารมณ์ร่วมกันของปวงชน, สภาร่างรัฐธรรมนูญ, เผด็จการเสียงข้างมาก, Referendum, Representative Democracy, General Will, Constitutional Convention, Tyranny of Majority

Abstract

Referendum Initiated by People

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นการศึกษาเรื่องการลงประชามติที่ริเริ่มโดยประชาชน (ตำราภาษาอังกฤษมักจะใช้คำว่า “พลเมือง” จึงมีการแปลคำนี้เป็นภาษาอังกฤษว่า Citizen Initiated Referendum) ซึ่งเป็นการกำหนดให้ประชาชนสามารถเข้าชื่อกันเพื่อขอให้มีการลงประชามติในเรื่องหนึ่ง ๆ ได้อันเป็นการคืนอำนาจการตัดสินใจให้แก่ประชาชน รัฐธรรมนูญหลายๆประเทศได้กำหนดกระบวนการดังกล่าวนี้ไว้โดยมีกติกาและเงื่อนไขที่แตกต่างกัน ส่วนประเทศไทยเองก็เคยมีการกล่าวถึงการให้ประชาชนเป็นผู้ริเริ่มให้มีการลงประชามติได้เองตั้งแต่มีการร่างรัฐธรรมนูญโดยสภาร่างรัฐธรรมนูญใน พ.ศ. 2491 (สภาร่างรัฐธรรมนูญที่จัดทำรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492) แต่ยังไม่มีการบัญญัติกระบวนการดังกล่าวลงในรัฐธรรมนูญไทยฉบับใดเลย

อย่างไรก็ตาม เมื่อประชาชนได้ร่วมกันชุมนุมเพื่อต่อต้านการผ่านร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมฯ ของสภาผู้แทนราษฎรเมื่อปลายปี 2556 ที่ผ่านมา ทำให้เห็นได้ว่ามีความเป็นไปได้เช่นกันที่ “ผู้แทนของประชาชน”จะผ่านร่างกฎหมายที่ขัดแย้งต่อเจตนารมณ์ของ “ประชาชน” เอง และรัฐธรรมนูญไทยที่ผ่านมาก็ไม่เคยกำหนดกระบวนการแก้ปัญหาเช่นนี้ให้แก่ประชาชนเลย นอกจากประชาชนต้องออกมาชุมนุมกันเพื่อส่งสัญญาณให้ผู้แทนของตนเองรู้ว่ากำลังทำสิ่งที่ขัดต่อเจตนารมณ์ของประชาชน ด้วยเหตุนี้ ผู้เขียนจึงศึกษากระบวนการดังกล่าวโดยศึกษาแนวทางของต่างประเทศเพื่อนำมาสู่ข้อเสนอสำหรับประเทศไทย ด้วยความเชื่อว่าการคืนอำนาจให้ประชาชนตัดสินใจในลักษณะนี้ จะช่วยระงับความขัดแย้งทางการเมืองในกรณีที่ผู้แทนของประชาชนกระทำการขัดต่อเจตนารมณ์ของประชาชนได้

ABSTRACT

This article studies the referendum initiated by citizens which allows citizens to request the referendum as the mechanism used to return the power of decision making to people. This kind of referendum has been set in the Constitutions of several countries with different processes and methods. In Thailand, the concept of the citizen initiated referendum was first mentioned in the 1948 Constitution Drafting Assembly but it has never been prescribed in any Constitutions.

        However, when the protest against the Amnesty Bill occurred in 2013, it is shown that the draft law passed by the majority of the representatives of people can possibly be against the will of people who elected those representatives. Furthermore, there is no process indicated in Thai Constitution which allows people to express their will in order that the representatives can recognize that their decisions are not what people want. Therefore, the study of this article on citizen initiated referendum focuses on the process of this type of referendum and aims to propose the recommendation for Thai Constitution.

Downloads

Published

2016-09-13