การเผยแพร่ความรู้ทางกฎหมายในเรือนจำ กับการเพิ่มโอกาสของผู้ต้องขังในการเข้าถึงความยุติธรรม

Authors

  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. พรรณรายรัตน์ ศรีไชยรัตน์ น.บ. (ธรรมศาสตร์), น.บ.ท., น.ม. (จุฬาฯ), LL.M. (U. of Penn.), J.S.D. (Cornell); รองศาสตราจารย์ สาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (วิทยาเขตหนองคาย)
  • ศักดิ์ชาย จินะวงศ์ น.บ. (เชียงใหม่), น.บ.ท., อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Keywords:

การให้ความช่วยเหลือทางกฎหมาย, คลินิกกฎหมาย, การเข้าถึงความยุติธรรม, ผู้ต้องขัง, กระบวนการดำเนินคดีอาญา, Legal Aid, Law Clinic, Access to Justice, Detainee, Criminal Procedure.

Abstract

Community Legal Education in a Prison and Accelerating Access to Justice for Detainees

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ได้ศึกษาความรู้ความเข้าใจและประสบการณ์ของผู้ต้องขังหญิงในการดำเนินคดีอาญา ผลของความรู้ความเข้าใจของผู้ต้องขังต่อคดี เพื่อเสนอข้อกำหนดเพื่อป้องกันความผิดพลาดซ้ำซ้อนในกระบวนการยุติธรรม ผลการวิจัยพบว่าการขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการดำเนินคดีอาญาส่งผลในทางลบต่อคดีของผู้ต้องขังเป็นอย่างมาก การให้ความรู้ทางกฎหมายแก่ผู้ต้องขังจึงมีความจำเป็น งานวิจัยนี้พบด้วยว่าการเผยแพร่ความรู้ทางกฎหมายในเรือนจำทำให้ผู้ต้องขังมีโอกาสได้รับบริการทางกฎหมายและเข้าถึงความยุติธรรมได้มากขึ้น งานวิจัยนี้ได้เสนอแนะให้จัดทำคำประกาศสิทธิของลูกความ กำหนดให้เป็นมาตรฐานทางจริยธรรมของทนายความที่ต้องอธิบายและชี้แจงให้ลูกความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการในการดำเนินคดีและความคืบหน้าของคดี ให้มีการแก้ไขหลักเกณฑ์ในเรื่องคำรับสารภาพ ส่งเสริมให้มีการจัดตั้งคลินิกกฎหมายขึ้นในสถาบันการศึกษาเพื่อเผยแพร่ความรู้ทางกฎหมายและให้คำปรึกษาทางกฎหมายแก่ผู้ด้อยโอกาส ปรับเปลี่ยนการให้ความรู้ทางกฎหมายแก่ผู้ต้องขังจากการให้ข้อมูลเป็นการให้การศึกษาโดยเริ่มตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นของการดำเนินคดี

ABSTRACT

The purposes of this study were to examine the awareness of female detainees on criminal procedure and the consequences of their awareness on their cases to propose some rules to end the recurred missteps in criminal justice system. The findings indicated that the awareness of detainees on legal provisions and their rights in criminal procedure were underprovided and led to severely negative effects on their cases. The findings also indicated the necessity of making legal knowledge available to female detainees, and a community legal education project in a prison accelerates legal services and access to justice for detainees. Thus the researchers’ recommendations are as follows: 1) to amend the principle of the validity of confession that can be raised against the accused or defendants to require an attendance of a lawyer at the time of confession at all stages of interrogation; 2) to issue a declaration, as a lawyer ethical standard to impose an affirmative duty on lawyers, on the rights of clients to obtain explanations on how the criminal cases are proceeded and information of the status of their cases from their lawyers; 3) to promote the establishment of law clinics in legal academic institutions to increase human and other supporting resources to make legal education and assistance available to detainees; 4) to transform providing legal information or knowledge to legal education having aims and functions to raise the consciousness of detainees on both rights and responsibilities; and 5) to provide the legal education at the early stage of the criminal procedure.

Downloads

Published

2016-09-13