มาตรการทางกฎหมายในการป้องกันการละเมิดสิทธิมนุษยชนใน ห่วงโซ่การผลิต: กรณีศึกษาอุตสาหกรรมประมงของประเทศไทย

Authors

  • กิรณี ธรรมภิบาลอุดม จบการศึกษาหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชากฎหมายธุรกิจ (ภาคภาษาอังกฤษ) คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Keywords:

ค้ามนุษย์, บังคับใช้แรงงาน, ละเมิดสิทธิมนุษยชน, อุตสาหกรรมประมง, ความโปร่งใสในห่วงโซ่การผลิต, human trafficking, forced labor, human rights infringement, fishery industry, transparency in supply chain

Abstract

Legal Measures to Prevent Infringements of Human Rights in the Supply Chain of Production: A Case Study on Thai Fishery Industry

บทคัดย่อ

ปัจจุบันการค้ามนุษย์ การใช้แรงงานทาส หรือ การบังคับใช้แรงงานจัดเป็นปัจจัยเสี่ยงที่มีความสำคัญและส่งผลกระทบในวงกว้าง โดยเฉพาะในธุรกิจประมงและอุตสาหกรรมต่อเนื่อง ทั้งนี้ก็เนื่องมาจากห่วงโซ่การผลิตในธุรกิจประมงมีความเกี่ยวข้องและต่อเนื่องกันกับผู้ผลิต ผู้จัดจำหน่าย และแรงงานในหลายภาคส่วน และเนื่องจากธุรกิจประมงและอุตสาหกรรมต่อเนื่องเป็นธุรกิจที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศไทย ดังนั้น การที่ประเทศไทยถูกพาดพิงในประเด็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน ด้านการบังคับใช้แรงงานย่อมส่งผลกระทบต่อประเทศไทย สินค้าซึ่งผลิตในประเทศย่อมถูกตั้งคำถามจากประเทศคู่ค้า เช่น สินค้าเหล่านั้นผลิตจากแรงงานบังคับ หรือ แรงงานที่มาจากการค้ามนุษย์ ในห่วงโซ่การผลิตหรือไม่

ประเทศไทยได้ให้ความสำคัญในการแก้ปัญหาการค้ามนุษย์และการใช้แรงงานบังคับในภาคธุรกิจประมงและอุตสาหกรรมต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี มาตรการและกฎหมายที่เกี่ยวข้องในการแก้ปัญหาดังกล่าวเป็นมาตรการกำกับดูแลจากทางภาครัฐ ซึ่งมักปรากฏในรูปแบบของมาตรการและกฎหมายทางอาญาโดยมุ่งลงโทษผู้กระทำความผิดตามที่กฎหมายได้บัญญัติไว้  ด้วยข้อจำกัดของทางภาครัฐ ทำให้การป้องกันการละเมิดสิทธิมนุษยชน ด้านการบังคับใช้แรงงานบังคับ และการแก้ปัญหาดังกล่าวในภาคธุรกิจนี้ไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร

ดังนั้น เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายที่มีอยู่ในปัจจุบันเกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ประเทศไทยจึงควรพัฒนาเครื่องมือทางกฎหมายเพื่อช่วยสนับสนุนและส่งเสริมการกำกับดูแลภาคธุรกิจ ไม่เฉพาะแต่ธุรกิจประมงและอุตสาหกรรมต่อเนื่องซึ่งถูกจับตามองจากประเทศคู่ค้าเท่านั้น  แต่ควรรวมไปถึงภาคธุรกิจอื่นๆ เพื่อส่งเสริมให้ภาคธุรกิจนำหลักความรับผิดชอบต่อสังคมและบรรษัทภิบาลมาปรับใช้ในการดำเนินกิจการ เพื่อให้บริษัทเหล่านั้นโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้  เช่น การเปิดเผยข้อมูล  มาตรการ และนโยบาย ซึ่งใช้ในการตรวจสอบการละเมิดสิทธิมนุษยชนในห่วงโซ่การผลิต เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของข้อมูลที่ต้องเปิดเผยต่อสาธารณะ นอกจากจะทำให้ผู้มีส่วนได้เสียในกิจการของตนได้รับรู้ถึงข้อมูลดังกล่าว ยังเป็นการให้ข้อมูลแก่ผู้บริโภคอีกทางหนึ่งด้วย

ABSTRACT

The risks of trafficking and slavery in supply chain production are significant and widespread. Particularly in the fishing sector as an industry which involves multiple parties from many different sources in its production line, it is highly possible to have labor issues at all levels of the supply chain. In the Thai fisheries industry, both fishing and processing sector, is significant to Thailand’s economy; however, the human rights infringement is currently being emphasized as a condition of fishery products trading in the international markets, which is an important problem that Thailand is questioned whether there are human rights infringement in the country’s business operations.

According to the existing legal measures in Thailand, the preventive measures concerning human right infringement in business, particularly in fishery industry are upon the State. The existing Thai laws and regulations, merely criminal sanctions, are applicable as a legal mechanism to punish who violates law. However, it is clear that the capacities of the State to protect human rights have not kept pace with the expansion of global economic activity.

Thailand should improve the legal mechanisms to monitor and observe the business operation e.g. disclosing the measures companies taken for human rights due diligence, increasing corporate transparency, empowering and educating consumers.

Downloads

Published

2016-09-13