ข้อสังเกตคำพิพากษาศาลทรัพย์สินทางปัญญา และการค้าระหว่างประเทศกลางเกี่ยวกับการเพิกถอน คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการที่ทำในต่างประเทศ

Authors

  • รองศาสตราจารย์ ดร.ธวัชชัย สุวรรณพานิช อาจารย์ประจำสาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

Keywords:

การเพิกถอน, คำชี้ขาดต่างประเทศ, ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ, set aside, foreign award, the Central Intellectual Property and International Trade Court.

Abstract

Note: the Central Intellectual Property and International Trade Court’s Judgements on Setting Aside of the Foreign Awards

บทคัดย่อ 

แม้ว่ากระบวนการระงับข้อพิพาทโดยวิธีการอนุญาโตตุลาการเป็นกระบวนการที่คู่พิพาทกำหนดกันขึ้นมาเอง แต่ศาลของประเทศต่างๆ ยังคงอำนาจตรวจสอบคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการได้ ด้วยการเพิกถอนคำชี้ขาด หรือ ปฏิเสธการบังคับคำชี้ขาดได้ หากเห็นว่า คำชี้ขาดดังกล่าวมีเหตุบกพร่องตามกฎหมาย อำนาจของศาลดังกล่าวมีที่มาจาก Convention on the Recognition and Enforcement of Foreign Arbitral Awards 1958 ("New York Convention") มาตรา 5(1)(e) ซึ่งกำหนดให้คำชี้ขาดใดที่ถูกเพิกถอนในประเทศที่ทำคำชี้ขาด หรือโดยกฎหมายของประเทศที่ทำคำชี้ขาด คำชี้ขาดนั้นอาจถูกปฏิเสธการบังคับคำชี้ขาดในประเทศสมาชิก New York Convention อื่นๆ ได้ กล่าวคือ New York Convention กำหนดให้ศาลของประเทศทำคำชี้ขาดมีอำนาจเพิกถอน และศาลของประเทศที่บังคับคำชี้ขาดเป็นศาลที่มีอำนาจปฏิเสธการบังคับคำชี้ขาด

พระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 มาตรา 43(6) บัญญัติไว้ทำนองเดียวกับ New York Convention มาตรา 5(1)(e) ว่าคำชี้ขาดที่ถูกเพิกถอนโดยศาลที่มีเขตอำนาจ หรือโดยกฎหมายของประเทศที่ทำคำชี้ขาด ประกอบกับมาตรา 40 บัญญัติให้คำชี้ขาดอาจถูกเพิกถอนโดยศาลที่มีเขตอำนาจได้ ทั้งนี้พระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 ได้บัญญัติคำว่า “ศาลที่มีเขตอำนาจ” ไว้ในมาตรา 9 โดยรวมถึงศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางด้วย

อย่างไรก็ตาม คำพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางเกี่ยวกับอำนาจการเพิกถอนแบ่งเป็น 2 แนว โดยแนวแรกเห็นว่าศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง มีอำนาจเพิกถอนคำชี้ขาดจากต่างประเทศตามมาตรา 40                  มาตรา 43(6) และมาตรา 9 แต่อีกแนวคำพิพากษากลับเห็นว่าศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางไม่มีอำนาจเนื่องจากขัดกับหลัก New York Convention

ดังนั้น การแก้ไขพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 ให้สอดคล้องกับ New York Convention จึงมีความจำเป็นที่พระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2545 ควรกำหนดให้ชัดเจนว่าศาลไทยมีอำนาจเพิกถอนคำชี้ขาดเฉพาะที่ทำในประเทศไทยเท่านั้น

ABSTRACT

Although an arbitration is a private mechanism of dispute resolution, its arbitral award may be reviewed by the state courts. This is because the New York Convention, Article 5(1)(e) empowers a court of the country in which that ward was made to set aside an award and also a court of the country in which the award was enforced to refuse enforcement of an award.

The Thai Arbitration Act, B.E. 2545 (“the Act”), Article 43(6) implements the New York Convention Article 5(1)(e) by providing that the court may refuse enforcement if the arbitral award has been set aside by a “competent court” or under the law of the country where it was made. The Article 40 also empowers a “competent court” to set aside arbitral award. The term “a competent court” is defined by Article 9 which included the Central Intellectual Property and International Trade Court (“Central IP&IT Court”).

However, the Central IP&IT Court’s judgements are different on the setting aside foreign award. On the one hand, the Court said that it has power to set aside foreign award by Article 43(6) and 40. On the other hand, the Court said that it has no power to set aside foreign award under the New York Convention. To avoid such problem, it is necessary to amend the Act, Article 43(6).

Downloads

Published

2016-09-13