การเคลื่อนย้ายของบุคคลธรรมดาในอาเซียน

Authors

  • กาญจนาภรณ์ อินทปันตี เลิศลอย ผู้อำนวยการฝ่ายอาเซียนและกิจการต่างประเทศ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา

Keywords:

บุคคลธรรมดา, อาเซียน, วิชาชีพ, ข้อตกลงยอมรับร่วม, การเคลื่อนย้าย, ความตกลง, natural persons, ASEAN, professional, mutual recognition arrangement, movement, agreement.

Abstract

The Facilitation of Mobility of Natural Persons in ASEAN

บทคัดย่อ 

ในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ครั้งที่ 12 เมื่อเดือนมกราคม 2007 (2550) ผู้นำอาเซียนได้ประกาศการเร่งรัดการจัดตั้งประชาคมอาเซียนภายในปี 2015 (2558) เป้าหมายของการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจถูกกำหนดไว้ในแผนงานการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และเพื่อให้บรรลุเป้าหมายนี้ แผนงานดังกล่าวได้กำหนดกลไกและระยะเวลาการดำเนินการและการอนุวัติการกิจกรรมต่างๆ อย่างค่อยเป็นค่อยไปไว้ การอำนวยความสะดวกของการเคลื่อนย้ายของบุคคลธรรมดาในอาเซียนเป็นกลไกที่สำคัญอย่างหนึ่ง ที่ถูกกำหนดไว้เพื่อวัตถุประสงค์ของการเปิดเสรีด้านบริการภายใต้ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน กลไกนี้เป็นผลให้มีการจัดทำความตกลงเกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายของบุคคลธรรมดาในอาเซียนขึ้นหลายฉบับ วัตถุประสงค์ ของบทความนี้จะทำให้เกิดความชัดเจนเกี่ยวกับผลกระทบของความตกลงดังกล่าวต่อกฎหมายไทย โดยการอธิบายขอบเขตและพันธกรณีทางกฎหมายของแต่ละความตกลง การระบุถึงกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และการให้ข้อคิดแก่ผู้อ่านเกี่ยวกับการพิจารณาพันธกรณีและการอนุวัติการตามพันธกรณีดังกล่าว บทความนี้ยังระบุถึงการเปิดเสรีด้านบริการแบบอาเซียนและความท้าทายของประเทศสมาชิกเพื่อให้บรรลุผลดังกล่าว

ABSTRACT

The ASEAN Leaders announced the acceleration of the establishment of the ASEAN Community by 2015 at the 12th ASEAN Summit in January 2007. The end goal of economic integration has been targeted for the ASEAN Economic Community Blueprint. In order to achieve this end goal, the Blueprint details mechanisms and timelines for its progressive completion and implementation of activities. The facilitation of mobility of natural persons in ASEAN is one of the key mechanisms concluded for the purpose of the free flow of services under the ASEAN Economic Community. This approach leads to the conclusion of agreements concerning the movement of natural persons in ASEAN. The objective of this article is to shed light on the consideration of the impact of these agreements in relation to Thai legislations by clarifying scope and legal obligations of each agreement, picturing legislations concerned, and guiding the readers an idea of how to consider legal obligations and its implementation. This article also points out “the ASEAN way” of moving forwards in liberalising services and the challenges of full implementation achievement by the 10 ASEAN members.

Downloads

Published

2016-09-13