ภาษีมรดกกับช่องโหว่ที่ไม่ควรมองข้าม

Authors

  • ดร. ยุทธนา ศรีสวัสดิ์

Keywords:

ภาษี, ทรัพย์สิน, ภาษีมรดก, Estate Tax, Inheritance Tax

Abstract

บทคัดย่อ

ประเทศไทยได้มีภาษีประเภทใหม่เกิดขึ้นที่เรียกกันว่า “ภาษีมรดก” ซึ่งมีทั้งเสียงสนับสนุนและเสียงคัดค้านด้วยเหตุผลที่แตกต่างกันไป กฎหมายภาษีมรดกเคยมีการใช้บังคับในประเทศไทยแต่ถูกยกเลิกไปเมื่อประมาณ 70 ปีก่อน ด้วยเหตุผลว่าภาษีที่จัดเก็บได้น้อยแต่มีภาระต้องปฏิบัติมากและจัดเก็บได้จานวนที่ไม่แน่นอนด้วย ทั้งนี้เนื่องจากขึ้นอยู่กับความตายของเจ้ามรดกในแต่ละปี จนกระทั่งได้มีการเสนออีกในปี พ.ศ. 2557 โดยจัดเก็บในอัตราร้อยละ 5-10 ของมูลค่ามรดกส่วนที่เกิน 100 ล้านบาท ซึ่งกฎหมายฉบับนี้ได้ผ่านความเห็นชอบจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติในที่สุดในปี พ.ศ. 2558 อย่างไรก็ดี กฎหมายฉบับดังกล่าวยังมีข้อสังเกตบางประการเกี่ยวกับช่องโหว่ทางกฎหมายที่อาจเกิดขึ้นเมื่อมีการใช้บังคับจริงเพื่อเลี่ยงภาษี เช่น การยักย้ายถ่ายเททรัพย์สินบางรายการไปยังต่างประเทศ การแปลงสภาพจากทรัพย์สินมีทะเบียนเป็นตลาดของสะสม หรือ การโอนทรัพย์มรดกข้ามไปให้รุ่นหลาน ดังนั้น ช่องโหว่ที่อาจเกิดขึ้นรวมถึงความเหมาะสมของการจัดเก็บภาษีประเภทนี้ จึงเป็นประเด็นที่น่าศึกษาผลการใช้บังคับต่อไป

ABSTRACT

Thailand has enacted "Inheritance Tax," which receives both supports and oppositions from different views. Actually, Inheritance tax had been adopted in Thailand, but abolished about seventy years ago for two main reasons: low revenue and inconsistent amount. In 2014, however, inheritance tax has been proposed again with 5-10% tax rate on the excess of the estate over 100 million baht. Finally, this law passed the National Legislative Assembly in 2015.

By the way, this law might have some concerns on tax avoidance, such as transferring some properties to another country, converting the property into collectibles, or deploying generation skipping transfer. As a result, possible loopholes and suitability of inheritance tax are the interesting issues that we should keep an eye on.

Author Biography

ดร. ยุทธนา ศรีสวัสดิ์

อาจารย์ประจาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม, SJD (Taxation), Southern Methodist University, LL.M. (Taxation), Southern Methodist University M.A. (Diplomacy and International Studies), มหาวิทยาลัยรังสิต นิติศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง)

Downloads