การคุ้มครองสิทธิบัตรชิ้นส่วนพันธุกรรมของมนุษย์ : กรณีศึกษาประเทศออสเตรเลียจากคำวินิจฉัยของศาล นโยบาย และผลกระทบ

Authors

  • เอกรินทร์ วิริโย

Keywords:

ชิ้นส่วนพันธุกรรมของมนุษย์, การคุ้มครองสิทธิบัตร, คำวินิจฉัยของศาลในประเทศออสเตรเลีย, Human Genetic Materials, Patent Protection and Australian Court’s Decision

Abstract

บทคัดย่อ

ประเด็นทางด้านทรัพย์สินทางปัญญาที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากในช่วงเวลานี้จะเป็นเรื่องการให้ความคุ้มครองสิทธิบัตรแก่ชิ้นส่วนพันธุกรรมของมนุษย์และชิ้นส่วนชีวภาพอื่นๆ ของมนุษย์ เนื่องจากเมื่อไม่นานมานี้ ได้มีคดีของบริษัทเทคโนโลยีชีวภาพขนาดใหญ่ระดับโลกชื่อว่า “Myriad Genetics Inc” เกิดขึ้นในหลายประเทศ เช่น ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา เป็นต้น โดยคดีนี้มีประเด็นเกี่ยวกับการให้ความคุ้มครองสิทธิบัตรแก่ชิ้นส่วนพันธุกรรมของมนุษย์ ซึ่งการแปลงสภาพของชิ้นส่วนพันธุกรรมนี้จะเป็นตัวชี้ให้เห็นถึงความเสี่ยงของการที่จะเป็นมะเร็งเต้านมและมะเร็งรังไข่ และเมื่อปี พ.ศ. 2556 ศาลชั้นต้นของสหพันธรัฐของออสเตรเลียได้มี คำวินิจฉัยในคดีดังกล่าวแล้วโดยให้ความคุ้มครองสิทธิบัตรแก่ชิ้นส่วนพันธุกรรมดังกล่าวที่มีการแยกออกมาจากองค์ประกอบของเซลล์อื่นๆ และร่างกายของมนุษย์เพื่อนำมาตรวจหาความเสี่ยงของการเป็นมะเร็ง ขณะที่หลังจากนั้น ศาลสูงสุดของประเทศสหรัฐอเมริกาได้มีคำวินิจฉัยแตกต่างออกไป นอกจากนั้น คำวินิจฉัยของศาลในประเทศออสเตรเลียได้สร้างข้อกังวลค่อนข้างมากเกี่ยวกับการผูกขาดในชิ้นส่วนพันธุกรรมดังกล่าวที่อาจส่งผลกระทบต่อกลุ่มบุคคลที่มีรายได้น้อยในการเข้าถึงบริการตรวจหามะเร็ง แต่ในทางกลับกัน หากไม่มีการให้ความคุ้มครองสิทธิบัตรแก่ชิ้นส่วนพันธุกรรมดังกล่าวที่มีการแยกออกมาได้สำเร็จนั้น ก็จะทำให้บริษัทเทคโนโลยีชีวภาพไม่มีแรงจูงใจที่ทำการวิจัยและพัฒนาต่อไป เนื่องจากขาดหลักประกันว่าผลการวิจัยของตนจะได้รับการตอบแทน อันจะส่งผลกระทบต่อสังคมโดยรวมในท้ายที่สุดเมื่อไม่มีผลการวิจัยทางการแพทย์ใหม่ๆ ออกมา ดังนั้น จึงเป็นเรื่องที่จะต้องหาความสมดุลระหว่าง การคุ้มครองสิทธิบัตรและการคุ้มครองประโยชน์สาธารณะ

ABSTRACT

The issue on intellectual property that gains much interest at this time rests upon the patent protection on human genes and other human biological materials because recently there were a number of cases of world-class Biotechnology Firm named “Myriad Genetics Inc” happening in many countries, for instances, Australia, United States etc. These cases had the issue on the patent protection on the human genetic materials, a mutation of which indicates the risk of breast cancer and ovarian cancer. Moreover, in year of 2013, the Federal Court of Australia had its decision by granting the patent protection on these human genetic materials which are isolated from cellular compounds and human body for examination on the risk of cancer, whereas the Supreme Court of United States decided differently. The Australian court’s decision has led to the concern about monopolizing these human genetic materials, which may affect the access to services for cancer diagnosis by the low-income group of people. However, if the patent protection on these successfully isolated human genetic materials is not provided, there may be no incentive for Biotechnology Firm’s research and development due to lack of guarantee on the benefits arising from its research and this will affect the society as a whole finally for not having the medical research outcome. Therefore, it is a matter of seeking a balance between the patent protection and the protection of public interest.

Author Biography

เอกรินทร์ วิริโย

LL.B, Monash University, LL.M. (International and Comparative Law), Monash University, Australia, Certificate of Copyright in Digital Age, Certificate of International Visitor Leadership Program on Protection of Intellectual Property Rights, United States, นักกฎหมายกฤษฎีกาประจาสานักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา.

Downloads