ปัญหาการกำหนดเหตุวันเริ่มนับและวันสิ้นสุดระยะเวลาการฟ้องคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครองของไทย

Authors

  • เทพสิทธิ์ รักไตรรงค์ เทพสิทธิ์ รักไตรรงค์

Keywords:

เหตุกำหนดวันเริ่มนับ, เหตุกำหนดวันสิ้นสุด, อายุความ, the Causes of the Start Date, the Causes of the End Date and Prescription

Abstract

บทคัดย่อ

ตามมาตรา 51 พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ได้กาหนดให้มี “เหตุแห่งการฟ้องคดี” เป็นเหตุกำหนดวันเริ่มนับอายุความฟ้องคดีเพียงเหตุเดียวใช้กับทุกลักษณะของสิทธิเรียกร้องตามข้อพิพาทของสัญญา ซึ่งหลังจากศาลปกครองได้เปิดทาการแล้ว ได้เกิดปัญหาการบังคับใช้ “เหตุแห่งการฟ้องคดี” ตามบทบัญญัติของกฎหมาย ดังกล่าวอย่างมาก งานวิจัยนี้จึงได้ศึกษา ถึงแนวคิดการกำหนดเหตุวันเริ่มนับและวันสิ้นสุดอายุความหรือระยะเวลาการฟ้องคดีและกาหนดวันเริ่มนับอายุความตามกฎหมายต่างประเทศ เพื่อค้นหาหลักเกณฑ์ทางกฎหมายของเหตุกำหนดวันเริ่มนับและวันสิ้นสุดของอายุความการฟ้องคดี

หลักเกณฑ์ทางกฎหมายของเหตุกำหนดวันเริ่มนับที่ถูกต้อง ซึ่งตามลักษณะของการบังคับสิทธิเรียกร้องที่ต้องให้เจ้าหนี้ทวงถามให้ชาระหนี้ก่อนและยังมีเวลาที่ให้ลูกหนี้ชำระหนี้อีกระยะหนึ่งก่อนที่จะมีวันเริ่มนับอายุความนั้น ควรให้เป็นกรณีอายุความเริ่มนับได้แต่เวลาแรกที่ให้ทวงถามตามบทบัญญัติมาตรา 193/13 ตอนต้น และมีกรณีที่มีการทวงถามแล้วแต่ภายในระยะเวลาอันหนึ่งที่ลูกหนี้มีสิทธิชาระหนี้นั้นจะครบกำหนดอายุความเสียก่อน โดยเจ้าหนี้ไม่อาจฟ้องคดีได้ จึงเป็นกรณีที่มีหลักเกณฑ์ทางกฎหมายของเหตุกำหนดวันสิ้นสุดอายุความฟ้องคดีเกิดมีขึ้น

งานวิจัยนี้จึงมีข้อเสนอแนะให้มีการปรับปรุงแก้ไขการกำหนดเหตุวันเริ่มนับและวันสิ้นสุด อายุความฟ้องคดี ทั้งในมาตรา 51 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณา คดีปกครอง พ.ศ.2542 และมาตรา 193/13 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ให้มีเหตุกำหนดวันเริ่มนับและวันสิ้นสุดของอายุความที่มีหลักเกณฑ์ทางกฎหมายที่ถูกต้องและใช้ได้กับทุกลักษณะของการใช้สิทธิเรียกร้องตามข้อพิพาทของสัญญา

ABSTRACT

Section 51 of the Administrative Court Establishment and the Administrative Cases Procedure Act 1999 has considered “causes of action” as only one of start date of prescription for every claim. The problem emerges into the implementation of the “cause of action”. This thesis demonstrates the concepts of imposing the start and end dates of prescription in order to find their legal rational

The result of this research found that the cause of action, that is a cause starting the prescription period under the Act, is based on a wrong legal concept because the cause is neither the first cause resulting an assertion of a claim, a cause conferring the plaintiff a right of action in some natures of the claim’s exercise, and nor an occurred cause depending on the act of a creditor or exercisable person. Yet, the cause imposing the start date of prescription under the Civil and Commercial Code, that is only the one after the period under the last part of section 193/13 given by the service of notice, is wrong as well. With the nature of enforcing a claim, the creditor is required to serve a notice before, and allocate time for the debtor to repay the debt before the start of prescription the parties’ right of action in some natures of the claim’s exercise. In case that service of notice given but within time being that the creditor has right to repay the debt and the prescription would end in the consequence of the lawsuit bar, As a result, the legal concept of the cause imposing the end date is created.

This thesis recommends changing the imposition of cause of the start and ending dates both in the Administrative Court Establishment and the Administrative Cases Procedure Act 1999, Section 51 and the Civil and Commercial Code Section 193/13 with right legal principles to be applied in every contractual claim.

Author Biography

เทพสิทธิ์ รักไตรรงค์ เทพสิทธิ์ รักไตรรงค์

รองอธิบดีอัยการ สำนักงานคดีปกครอง สำนักงานอัยการสูงสุด นักศึกษาหลักสูตรนิติศาสตร์ มหาบัณฑิต สาขานิติศาสตร์บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรังสิต ปีการศึกษา 2557

Downloads